ล้มเหลวไม่ใช่เพราะตัดสินใจพลาด : ความสำเร็จไม่ใช่เพราะตัดสินใจถูกต้อง
“ผมตัดสินใจพลาดที่มาเป็นนักเขียนรึเปล่านะ?”
นี่คือคำถามที่อยู่วนเวียนอยู่ในหัวตลอดช่วงปีที่ผ่านมา มันเป็นคำถามที่แปลกดีเพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาจเป็นเพราะตอนนี้งานเขียนได้กลายมาเป็นงานประจำไปแล้ว จากที่เคยเป็นแค่งานอดิเรกที่ทำแบบสนุก ๆ ว่างก็ทำ แต่วันนี้กลับมีตารางงานเขียนที่ต้องเสร็จในแต่ละวัน ทั้งคอลัมน์ ทั้งงานแปล ไหนจะมีทำพอดแคสท์และยูทูปอีก
อย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือคำถามนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความเบื่อหน่ายหรือเกลียดในสิ่งที่ทำ ผมยังมีความสุขและงานเขียนและทำคอนเทนต์ก็ยังเป็นสิ่งที่รักอยู่ คำถามนี้เมื่อหยั่งรากลงไปแล้วต้นตอมาจากความรู้สึก ‘ไม่มั่นคง’ ในชีวิตมากกว่า
แม้จะพูดได้ว่าเราเป็นฟรีแลนซ์ทำงานที่ตัวเองอยากทำ แต่มันก็หนีไม่พ้นทำงานให้กับสื่อต่าง ๆ อยู่ดี ข้อดีคือมันสามารถรับงานหรือเสนองานที่เราสนใจให้กับพื้นที่ต่าง ๆ ได้ แต่ถามว่าความมั่นคงมีไหม ในระดับหนึ่งมันก็ไม่มีเช่นกัน เพราะถ้าเกิดวันไหนสื่ออยากเปลี่ยนทิศทางหรือตัดงบนักเขียนขึ้นมา เราก็ต้องไปวิ่งหางานที่ใหม่อีก ต้องพยายามขายตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไอเดียต่าง ๆ นานา จนเกิดเป็นคำถามข้างบนว่าเราตัดสินในพลาดรึเปล่าที่มาทำงานแบบนี้?
วันก่อนมีโอกาสได้นั่งดื่มกาแฟกับพี่หนุ่ม-โตมร ศุขปรีชา นอกจากอัพเดทเรื่องงานทั่วไปแล้ว ผมก็ถามประเด็นนี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าพี่หนุ่มน่าจะมีคำแนะนำที่ดี น่าจะเคยผ่านจุดตรงนี้มาก่อน ในเส้นทางสายอาชีพนักเขียนและคอลัมนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งของบ้านเรา พี่หนุ่มยิ้ม ๆ แล้วตอบว่า
มันฟังดูเป็นคำแนะนำง่าย ๆ แต่ในความเรียบง่ายนั้นก็ทำให้เห็นว่าชีวิตบางทีมันก็ไม่ควรยุ่งยากขนาดนั้นรึเปล่า เราเองที่เป็นคนทำให้มันยุ่งยาก ขงจื้อเคยกล่าวไว้ว่า
“ความจริงชีวิตคนเราน่ะ ไม่มีอะไรยุ่งยาก
แต่เราพยายามทำให้มันซับซ้อนเท่านั้นเอง”
เรามักคิดว่าการตัดสินใจในชีวิตที่ดีต้องมีผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น พอเจอปัญหาหรือความคิดในแง่ลบของสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เลยเกิดเป็นคำถามว่าเราพลาดรึเปล่าที่ตัดสินใจมาทางนี้? คนที่ประสบความสำเร็จเขาควรจะรู้สึกแบบนี้เหรอ?
แต่พอได้คุยกับพี่หนุ่มผมก็เริ่มสงสัยว่าคำถามนั้นไม่ค่อยแฟร์กับตัวเองสักเท่าไหร่ เมื่อเรามองย้อนกลับไปเราเห็นจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเรารู้อนาคตเราก็คงไม่ทำเรื่องผิดพลาดเหล่านี้ แต่มันเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดจริง ๆ เหรอ? แล้วงานที่ผมทำอยู่ตรงนี้ถ้าไม่นับเป็นความสำเร็จเราจะเรียกมันว่าอะไร? หรือมันเป็นความสำเร็จที่มาจากความตัดสินใจที่ผิดพลาด แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริงการตัดสินใจที่ถูกต้องก็อาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวก็ได้เช่นเดียวกันสินะ
Peter Bevelin กล่าวไว้ในหนังสือ Seeking Wisdom ว่า
“การตัดสินใจที่ดีสามารถพาไปสู่ผลลัพธ์ที่แย่ได้ และในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน”
(แน่นอนหล่ะเราไม่ได้พูดถึงการตัดสินใจเรื่องที่มันชัด ๆ อย่างดื่มเหล้าแล้วขับรถหรือการเริ่มสูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้เรารู้ในระยะยาวว่ามันส่งผลร้ายมากกว่าผลดี)
ความจริงคือคุณไม่มีทางรู้อนาคต เพราะฉะนั้นมันถึงไม่มีประโยชน์เลยที่จะถามว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ ‘ดี’ รึเปล่านะ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าต่อไปนี้จะ ‘อะไรก็ได้’ ไม่ใช่แบบนั้น กระบวนการตัดสินใจควรมีแนวคิด เหตุผลที่สนับสนุนการตัดสินใจ ให้มั่นใจว่ามัน ‘ดีที่สุดแล้วในตอนนี้’ อย่าไปโฟกัสที่ผลลัพธ์ เพราะอย่างน้อย ๆ เราจะไม่รู้สึกเสียใจที่เลือกทางนี้ในอนาคต
เมื่อกลับมาย้อนดูคำถามในตอนแรก ผมไม่เคยรู้สึกเสียใจที่เดินมาเส้นทางนี้ ความไม่มั่นใจระหว่างทางต่างหากที่ทำให้เกิดข้อสงสัย แต่ผมเชื่อว่าไม่ว่าอาชีพไหนหรือใครก็คงเคยมีจังหวะแบบนี้กันทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะทำอะไร เริ่มธุรกิจ ตัดสินใจออกจากงาน เริ่มงานที่ใหม่ เริ่มเขียนหนังสือ ฯลฯ
ชีวิตไม่มีทางตัดสินใจได้ถูกต้องเสมอไป และถึงแม้มันจะพลาด เราก็จะไม่เสียใจที่ได้ลองตัดสินใจทำ
James Clear ผู้เขียนหนังสือ “Atomic Habits” เคยเขียนไว้ว่า