SOPON’S BLOG
2 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จด้านการเงิน
November 28, 2022
สูตรลดน้ำหนัก 4 กิโล ใน 4 สัปดาห์ : ไม่ต้องพึ่งยา แถมยังไปกินชาบูอีกต่างหาก
November 26, 2022
ฟีดแบคที่ดี ไม่ได้ดีเสมอไป : รับมือยังไงเมื่อเจอฟีดแบคหนัก ๆ ตรง ๆ และต้องปรับตัว
November 24, 2022
ปีใหม่ คนเก่า : จะเปลี่ยนตัวเองได้ ต้องรับตัวเองที่ไม่สมบูรณ์ให้ได้ก่อน
November 21, 2022
20 บทเรียนจากนักจิตบำบัดที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น
November 20, 2022
Facebook Twitter Youtube Instagram Medium Bootstrap
SOPON’S BLOG

Type and hit Enter to search

  • Home
  • Topics
    • Featured
    • Self-Improvement
    • Tech
    • Business
    • Thoughts
    • Science
    • Startups
    • Lifehack
    • People
    • Travel
    • Inspiration
  • Podcast
  • About
  • Contact
  • Follow
    • Facebook
    • Twitter
    • Instagram
    • Blockdit
    • Telegram
FeaturedThoughts

วิทยาศาสตร์สร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และ วิทยาศาสตร์กำลังจะทำให้มันหายไปเช่นเดียวกัน

sopons
October 17, 2020 One Min Read
88 Views
0 Comments

ช่วงสัปดาห์หนังสือที่ผ่านมามีหนังสือเล่มหนึ่งที่ชอบมากเป็นพิเศษชื่อว่า “ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว” ที่เล่าถึงแนวคิด วิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาและเส้นทางการสร้างธุรกิจ ซี.พี. ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำจนกระทั่งกลายเป็นบริษัทระดับโลกได้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย

มีมุมหนึ่งที่ในหนังสือพูดถึงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการคัดสายพันธ์สัตว์ ผลิตอาหาร พัฒนาวัคซีน และสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ให้เกษตกรคนหนึ่งจากที่เคยเลี้ยงไก่ได้คนละ 100 ตัวกลายเป็นคนละ 10000 ตัว อ่านแล้วก็แอบทึ่ง คงไม่เกินไปหากพูดว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือผู้สร้างอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์และทำให้เรามีเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพและราคาไม่แพงให้ทานกันอยู่ทุกวันนี้

นักเขียนชื่อดังอย่าง Yuval Noah Hariri เคยเขียนไว้ในบทนำของหนังสือ Clean Meat ว่า

“ด้วยความช่วยเหลือของวัคซีน ยา ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง ระบบปรับอากาศแบบทำความเย็นจากส่วนกลาง (Central Air-Conditioning Systems) ระบบป้อนอาหารแบบอัตโนมัติ และอุปกรณ์ช่วยเหลืออีกมากมาย ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องเป็นไปได้แล้วที่จะเลี้ยงไก่หลายหมื่นตัวและสัตว์ต่างๆในพื้นที่แคบๆและผลิตเนื้อสัตว์และไข่อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็น่าเศร้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเช่นกัน”

ซึ่งหลังๆมาเราเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่หันไปสนับสนุนไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ จากฟาร์มสัตว์ที่เลี้ยงแบบไม่ทรมานสัตว์ ฯลฯ แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรแบบเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาจจะทำได้ ช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเราเห็นคนพูดถึง “Clean Meat” กันเยอะขึ้นว่ามันจะมีโอกาสมาทดแทนเนื้อสัตว์แบบเดิม (ที่แม้จะราคาถูกแต่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและโหดร้ายต่อสัตว์ที่อยู่ในฟาร์ม) ได้หรือไม่? การพัฒนาในเบื้องต้นนั้นไปตกอยู่กับเหล่านักวิทยาศาสตร์ในบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆอย่างเช่น Beyond Meat หรือ Impossible Foods ที่ผลิตเนื้อหรือไส้กรอกจากโปรตีนพืชเพื่อวางขายตามซุปเปอร์มาเก็ตและร้านอาหาร อีกกลุ่มหนึ่งที่ซิลิคอนวัลเล่ สตาร์ทอัพ Just Inc. และ Memphis Meats ก็กำลังทำการทดลองเพื่อผลิตเนื้อสัตว์จากเซลล์เริ่มต้นจากสัตว์จริงๆ ในขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นเงินลงทุนเพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาเติบโตขึ้นตามไปด้วย

แต่ถึงยังไงก็ตามทีตอนนี้ก็ยังถือว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆเท่านั้น ถ้าเทียบกันอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์นั้นอยู่มานานหลายสิบปี มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตกรในสายนี้ แม้แต่บริษัทเอกชนก็มีโครงการสนับสนุนและทำอุตสาหกรรมเนื้ออย่างเต็มรูปแบบ เพราะฉะนั้นเนื้อที่มาจากโปรตีนพืชหรือเซลล์สัตว์นั้นยังเป็นอะไรที่ใหม่มาก


องค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง The Good Food Institute พยายามโปรโมทเรื่องของ Clean Meat โดยการให้สนับสนุนเงินกว่า 3 ล้านเหรียญแก่นักวิทยาศาสตร์ 14 คนที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อที่ทำขึ้นในห้องแลปจากโปรตีนพืชและเซลล์สัตว์ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่ามันจะยังดูไม่ได้มากมายอะไรนักแต่ก็เป็นการช่วยเร่งให้เทคโนโลยีเหล่านี้เติบโตเร็วขึ้นและปลายปีนี้ก็จะให้อีก 3.15 ล้านเหรียญด้วย

ก่อนหน้านี้ประมาณหนึ่งปี University of Minnesota ได้เปิดศูนย์กลางการวิจัยแห่งแรกเกี่ยวกับเรื่อง “โปรตีนพืช” โดยเฉพาะชื่อว่า Plant Protein Innovation Center ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่นี่ก็จะทำการศึกษาเกี่ยวกับพืชฝักตระกูลถั่วอย่างเช่น ถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี รวมไปถึงพืชที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักอย่าง คาเมลีนาดรีม เพื่อที่จะพัฒนาให้เป็นอาหารที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมและน่าทานในเวลาเดียวกัน B. Pam Ismail ผู้ดูแลศูนย์การวิจัยแห่งนี้กล่าวว่า

“เราต้องรู้ถึงคุณค่าทางอาหาร รู้ว่ามันมีผลต่อรสชาติยังไง เราต้องรู้ถึงขั้นตอนกระบวนการว่ามันถูกสร้างขึ้นมายังไง มีสูตรยังไง และจะขายยังไง – จากฟาร์มสู่จานประมาณนั้น”

บริษัทใหญ่ๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร (ADM, Cargill, Coca-Cola, Conagra และ Hershey) ก็ร่วมกันสนบสนุนเงินช่วยศูนย์การวิจัยแห่งนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งงานวิจัยโดยส่วนใหญ่ในนี้จะเป็นแบบ “open source” แต่บริษัทต่างๆก็สามารถจ้างวานให้ทำแบบปิดได้เช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมาเราจะเห็นงานวิจัยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ นักวิจัยใน Impossible Foods และ Beyond Meat ต่างตั้งหน้าตั้งตาทำให้คุณภาพของเนื้อเบอร์เกอร์ที่มาจากพืชนั้นรสชาติดีขึ้น โดยวิเคราะห์ว่าส่วนไหนของเนื้อแบบดั้งเดิมที่ทำให้คนทานติดใจและไปเสาะหาสิ่งเหล่านั้นจากพืชมาทดแทน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเนื้อเบอร์เกอร์จากพืชของพวกเขานั้นรสชาติดีกว่าเบอร์เกอร์เจที่เอาผักมาสับๆแล้วอัดเป็นแผ่นเพียงเท่านั้น Dr. David Lipman ที่ทำงานวิจัยให้กับ Impossible Foods กล่าวว่า

“เราใช้เวลาหลายปีเพื่อวิเคราะห์เนื้อสัตว์และสร้างทุกๆด้านของประสบการณ์เกี่ยวกับการรับรู้ตั้งแต่ – กลิ่น, รสชาติ, เนื้อสัมผัส, คุณค่าทางอาหาร ไปถึงการส่งเสียงดังแฉ่ๆระหว่างปรุงอาหารด้วย”

แต่มันก็ยังมีอะไรมีต้องพัฒนาอีกมาก ตอนนี้เราไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรที่จะมาทดแทนเนื้อจริงๆได้เลย วัตถุดิบที่มีอยู่เยอะแยะอย่างสาหร่ายหรือเห็ดยังไมได้มีใครลองนำเอาไปทดลองทำวิจัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยทำให้รสชาติหรือเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น มีสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น ใช้พื้นที่และสร้างมลภาวะน้อยกว่าเนื้อปกติทั่วไป ซึ่งแน่นอนว่าราคาของเนื้อห้องแล็ปเหล่านี้ราคาจะสูงกว่าปกติ ยกตัวอย่าง Burger King ที่ตั้งราคา Impossible Whopper ไว้ที่ $5.59 (ประมาณ 170 บาท) แพงกว่า Whopper ธรรมดาประมาณ $1.4 (ประมาณ​ 40 บาท)


เหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้ที่เผชิญความท้าทายเหล่านี้คงใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะได้รับผลตอบแทนเหมือนอย่างที่อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นอยู่ ทั้งเรื่องราคาและรสชาติ คุณค่าทางอาหารก็เป็นเรื่องที่สำคัญ และต้องคอยสังเกตผลกระทบของสิ่งเหล่านี้กับสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับตอนนี้ทุกคนอาจจะมองว่า “รสชาติ” ต้องมาเป็นอันดับแรก เพราะถ้าไม่อร่อยคนก็เลือกเนื้อแบบเดิมต่อไป ส่วนเรื่องต่อไปก็คือเรื่องราคาซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ในอนาคต เพราะตอนนี้อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์นั้นได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน มีฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ มีระบบขนส่งที่เอื้ออำนวยต่อการขนย้าย ทั้งอาหารสัตว์หรือวัตถุดิบต่างๆเช่นข้าวโพดหรือถั่วก็ได้รับการสนับสนุนหมด จึงทำให้เนื้อสัตว์ในปัจจุบันราคาถูก แต่ที่จริงแล้วเบอร์เกอร์จาก Beyond Meat และ Impossible Foods นั้นแทบไม่ต้องการอาหารหรือน้ำหรือใช้พลังงานมากมายเหมือนกับการผลิตเนื้อแบบปกติเลย ตอนนี้ก็เหลือเพียงเวลาเพื่อรอให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำงานจนถึงจุดที่การสร้างเนื้อทดแทน (Clean Meat) นั้นราคาถูกลงเรื่อยๆเช่นกัน


เมื่อถึงตอนนั้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์จะเป็นยังไง? ถ้ามีเนื้อสัตว์ที่รสชาติและราคาเหมือนกันแต่ไม่ต้องฆ่าสัตว์คนจะยังต้องการซื้อเนื้อสัตว์แบบเดิมอยู่ไหม? อันนี้เป็นประเด็นที่น่าติดตามไม่น้อยเลยทีเดียว

Tags:

beyond meatclean meatimpossible foodsjust incmemphis meatsscienceวิทยาศาสตร์เนื้อปลอม

Share Article

Follow Me Written By

sopons

Writer / Columnist (Salmon Books, 101.world, The Matter, Beartai, The People, a day Bulletin, CapitalRead, GQ, Billion Brands)

Other Articles

Previous

3 ทศวรรษของ The Mac Portable – โปรดักส์ล้มเหลวที่ทำให้ Apple MacBook มายืนอยู่ตรงนี้

Next

การเข้ามาของแมชชีนที่ทดแทนกลุ่มแรงงานสายฟาสต์ฟู้ด

Next
October 17, 2020

การเข้ามาของแมชชีนที่ทดแทนกลุ่มแรงงานสายฟาสต์ฟู้ด

Previews
October 17, 2020

3 ทศวรรษของ The Mac Portable – โปรดักส์ล้มเหลวที่ทำให้ Apple MacBook มายืนอยู่ตรงนี้

No Comment! Be the first one.

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Posts

The Future of Food : ต่อจากนี้อีก 30 ปี เราจะมีอะไรให้กินบ้าง?

by sopons
October 19, 2020

Subscribe to our newsletter and stay updated.

SOPON’S BLOG

© 2021, All Rights Reserved.

Quick Links

  • Contact
  • About
  • Billion Brands
  • Blockdit

Category

  • Self-Improvement
  • Technology
  • Business
  • Thoughts
  • Travel

Follow Us

Facebook Twitter Youtube Instagram
  • Home
  • Topics
    • Featured
    • Self-Improvement
    • Business
    • Technology
    • Inspiration
    • Books
    • Life Style
    • Startups
    • Thoughts
    • Travel
  • About
  • Contact