Artificial intelligence (AI) ไม่ใช่เครื่องมือที่จะหยุดยั้งการแพร่กระจายหรือมาทดแทนนักระบาดวิทยาที่เป็นมนุษย์ แต่มันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกของการแพร่กระจายโรคติดต่อ ที่ AI จะกลายมาเป็นเครื่องมือช่วยในการเฝ้าระวังและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นได้
ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าครั้งนี้ AI นั้นยังไม่ได้เป็นที่พูดถึงมากนักเท่าไหร่ เนื่องจากมันยังสร้างประโยชน์ไม่ได้มากนั้นเพราะขาดข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ แต่ในเวลานี้ เมื่อโซเชียลมีเดียถูกใช้งานโดยผู้คนรอบโลก มีการโพสต์หรือพูดถึงการแพร่กระจายตัวของไวรัสแบบ “real-time” วินาทีต่อวินาที มันเลยเป็นข้อมูลที่ AI สามารถนำมาวิเคราห์ผ่านระบบอัลกอริทึมและเฝ้าดูได้เลยว่าตอนนี้การแพร่ระบาดเกิดขึ้นที่ไหนบ้างตอนนี้
รู้จักกันในชื่อว่า 2019-nCov, โคโรน่าไวรัสนั้นเป็นญาติใกล้เคียงกับ SARS เมื่อประมาณ 17 ปีก่อน ตอนนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน ซึ่งตอนนี้เราไม่รู้เลยว่ามันจะแพร่กระจายไปไกลแค่ไหนและสร้างความเสียหายต่อชีวิตคนมากขนาดไหน
วันที่ 9 มกราคม, WHO (World Health Organization) ได้ประกาศว่ามีการแพร่ระบาดของไข้หวัดในประเทศจีน เป็นเคสของอาการปอดบวมที่เมืองหวู่ฮั่น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากการสัมผัสของสัตว์ในตลาด Huanan Seafood Market โดยสามวันก่อนหน้านั้น (6 มกราคม) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการระบาดนี้เช่นเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วแพลตฟอร์ม AI ชื่อว่า Bluedot ของ Canada ได้ออกมาเตือนตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมแล้ว
BlueDot ใช้อัลกอริทึม AI ที่คอยตามรายงานข่าวจากที่ต่างๆ เครือข่ายของการขนส่งสัตว์และพืช และประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อแจ้งเตือนลูกค้าล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นอันตราย เช่น หวู่ฮั่น ในประเทศจีน
ความเร็วเป็นเรื่องที่จำเป็นมากในช่วงของการแพร่ระบาดของโรค แต่รัฐบาลของจีนมีประวัติไม่ค่อยดี โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลไว้กับตัวเองและไม่แบ่งปันข้อมูลให้กับคนอื่นๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียให้กับรัฐบาลอย่างเรื่องการแพร่ระบาดของโรค เรื่องมลพิษในอากาศ หรือแม้กระทั่งเหตุการภัยพิบัติต่างๆด้วย เมื่อ WHO หรือ CDC ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากจีนเพื่อตรวจสอบการระบาดของโรคจากไวรัส จึงทำให้ล่าช้าไปอีกไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น AI อาจจะช่วยทำให้เราไปถึงข้อมูลตรงนั้นเร็วยิ่งขึ้น Kamran Khan (ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของ BlueDot) กล่าวว่า
Khan บอกว่าอัลกอริทึมตรงนี้ไม่ได้ใช้ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเพราะข้อมูลมันยุ่งเหยิงเกินไป แต่เขาใช้เทคนิคหนึ่งคือการใช้ข้อมูลของการซื้อตั๋วของสายกินต่างๆ เพื่อคาดการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาดจากผู้ป่วยที่เดินทางไปยังที่ต่างๆของโลก จากหวู่ฮั่นไปกรุงเทพฯ โซล ไทเป และโตเกียวในวันต่อๆมา
ในช่วงการระบาดของโรค SARS ปี 2003, Khan ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในโตรอนโต ตอนนั้นเขามีความไอเดียว่าอยากจะหาวิธีติดตามโรคร้ายเหล่านี้ให้ดีขึ้น ไวรัสตัวนั้นเกิดขึ้นในประเทศจีนและหลังจากนั้นก็แพร่กระจายไปยังฮ่องกงต่อด้วยโตรอนโต “มันเหมือนเป็นเดจาวูที่เกิดขึ้นตอนนนี้” Khan กล่าวต่อ
หลังจากที่ได้ทดลองโปรแกรมคาดการณ์ต่างๆมากมาย สุดท้าย Khan ก็เปิดตัว Bluedot ในปี 2014 และได้รับเงินลงทุนกว่า 9.4 ล้านเหรียญ โดยพวกเขามีพนักงานที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และโปรแกรมเมอร์ประมาณ 40 คน เพื่อช่วยกันสร้างโปรแกรมวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรค ใช้เทคนิค NLP (Natural Language Processing – ประมวลผลภาษาธรรมชาติ) และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์รายงานข่าวกว่า 65 ภาษา พร้อมกับข้อมูลของสายการบินและรายงานการระบาดของโรคจากสัตว์
เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกวิเคราะห์ออกมาแล้ว มนุษย์ก็จะเข้าไปสานต่อ นักระบาดวิทยาก็มาเช็คว่าข้อมูลตรงนี้มันมีเหตุผลมากน้อยแค่ไหน การสรุปของระบบนั้นใช้ได้หรือไม่ หลังจากนั้นก็ทำการรายงานไปยังรัฐบาล ธุรกิจ และลูกค้าเครือข่ายสาธารณสุข
หลังจากนั้นรายงานของ BlueDot ก็ถูกส่งต่อไปยังเครือข่ายสาธารณสุขในหลายประเทศ (ทั้งในอเมริกาและแคนาดา) สายการบินต่างๆ, โรงพยาบาลที่มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะมา ตอนนี้ BlueDot ยังไม่ได้ขายข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
BlueDot ไม่ใช่เจ้าเดียวที่เราเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกที่หนึ่งอย่าง healthmap.org เป็นเว็บไซต์สาธารณะที่คอยเฝ้าระวังการแพร่กระจายของโรคระบาด John Brownstein ผู้เป็นนักระบาดวิทยาคอมพิวเตอร์ของ Boston Children’s Hospital ที่ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้บอกว่าพวกเขาใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานของรัฐบาล โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ข่าว และแหล่งข่าวอื่นๆรวมกัน
Brownstein ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า AI ของเขานั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนมนุษย์ แต่เป็นการช่วยสนับสนุนและทำให้กระบายการทุกอย่างนั้นรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้นในช่วงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เครื่องมือที่ใช้ AI เพื่อการเฝ้าระวังนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ มันมีอยู่มานานเป็นสิบปีแล้ว เพียงแต่ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาของ Machine Learning ควบรวมกับข้อมูลจำนวนมหาศาลต่างหากที่ทำให้มันเกิดความเป็นไปได้ที่มหาศาล มันกลายเป็นเครื่องมือที่มากกว่าการเฝ้าระวัง แต่สามารถช่วยผู้เชี่ยวชาญคาดเดาได้อย่างแม่นยำว่ามันจะขยายไปเร็วและกว้างขนาดไหน ไปถึงกลุ่มประชากรแบบไหนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ระบาดในครั้งนี้
ไม่ว่า BlueDot หรือ HealthMap.org จะประสบความสำเร็จมากขนาดไหน ตอนนี้เราอาจจะยังไม่รู้ได้ แต่ว่าหลายฝ่ายมองว่าอย่างน้อยๆประเทศจีนเองก็ไม่ได้ปกปิดข้อมูลเป็นเวลาหลายเดือนเหมือนตอนเหตุการณแพร่ระบาดของโรค SARS และพวกเขาก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ถึงแม้ว่าตัวเลขที่รายงานอาจจะดูน้อยกว่าความน่าจะเป็นก็ตามที และความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ติดเชื้อนั้นจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักเดินทางชาวจีนที่มีสัญญาณการติดเชื้อกระจายไปทั่วโลก ซึ่งก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่
วิธีการที่จะหยุดการแพร่กระจายของโรคระบาดครั้งนี้ได้คือหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลในแต่ละประเทศ (โดยเฉพาะในประเทศจีน) ต้องเปิดเผยข้อมูลและบอกความจริงแก่สาธารณะโดยเร็วที่สุด และในระหว่างนี้ก็อาจจะใช้เทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาช่วยนักระบาดวิทยาด้วย
========
อ้างอิง