ใช้ชีวิตเหมือนเกิดใหม่อีกครั้ง : พลังของการคาดการณ์ความเสียดาย ที่ช่วยผลักให้เราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
เช้าวันหนึ่งในปี 1888 อัลเฟรด โนเบล ตื่นขึ้นมาพร้อมข่าวร้ายเกี่ยวกับตัวเขาเอง
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสได้ลงข่าวหน้าหนึ่งเป็นภาพขาวดำบอกว่าอัลเฟรดเสียชีวิตแล้ว ซึ่งก็ไม่มีทางเป็นความจริงได้เพราะเขาก็ยืนอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ตอนนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นคือนักข่าวเขียนข่าวพลาด สลับกันระหว่างพี่ชายของอัลเฟรดที่ชื่อลูดวิกต่างหากหล่ะที่เสียชีวิต แต่ข่าวก็ตีพิมพ์ออกมาแล้ว (ข่าวปลอมมีมาตั้งแต่ยุคสมัยนั้นแล้วนะเนี้ย)
สำหรับอัลเฟรดแล้วการยังมีชีวิตอยู่เป็นเรื่องน่ายินดี แต่หลังจากอ่านพาดหัวข่าววันนั้นก็เพิ่งเข้าใจว่าคนอื่นคิดกับเขาในทางที่ไม่ดีสักเท่าไหร่
หนังสือพิมพ์พาดหัวว่า ‘พ่อค้าความตายถึงแก่ความตายแล้ว’
ซึ่งไม่ว่าสำหรับใครก็คงเป็นคำพูดที่เจ็บปวดใจแน่นอนอยู่แล้ว อัลเฟรดด้วยก็เช่นกัน
โนเบลเป็นชาวสวีเดนที่พูดได้ห้าภาษา เป็นนักเคมีฉลาดหลักแหลม เป็นนักประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่นำชื่อเสียมามากกว่าชื่อเสียงคงเป็นสิ่งที่เค้าประดิษฐ์สร้างขึ้นมาอย่างดินระเบิด เชื้อประทุระเบิด หรือที่โด่งดังที่สุดคือไดนาไมต์ จดสิทธิบัตรในช่วงทศวรรษที่ 1860 และสร้างโรงงานผลิตได้ทำไมทั่วโลก เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ ผลิตปืนใหญ่ และอาวุธรวมถึงระเบิดต่าง ๆ ด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีและเป็นหนึ่งในนักอุสาหกรรมผู้โดดเด่นที่สุดของยุโรป
ข่าวการเสียชีวิตของเค้าไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวของความเป็นอัจฉริยะหรือความเฉลียวฉลาดของโนเบลเลย มีแต่ความแปดเปื้อนของจิตวิญาณ และสิ่งที่เขาทิ้งไว้ข้างหลังก็เป็นเรื่องที่น่าอับอาย แม้ไดนาไมต์จะถูกใช้เพื่อไดนาไมต์ในอุตสาหกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองแร่ การสร้างอุโมงค์ การขุดคลอง แต่นั่นก็รวมไปถึงการทำสงครามและฆ่าคนไปจำนวนไม่น้อยด้วย ซึ่งก็เป็นที่มาของฉายา “พ่อค้าแห่งความตาย” นั่นเอง
นั่นคือตอนที่เขาเริ่มคิดได้ว่าควรเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เขาทิ้งไว้ข้างหลังควรมีค่ามากกว่านี้ มองไปยังอนาคตว่าตัวเองจะเสียดายเรื่องอะไรบ้างถ้าเกิดตายขึ้นมาจริง ๆ แล้วก็ใช้ชีวิตเหมือนเกิดใหม่อีกครั้ง
แปดปีต่อมาเมื่อเขาเสียชีวิตจริง ๆ มีเรื่องน่าตกใจเกิดขึ้นครับ แทนที่เขาจะทิ้งทรัพย์สมบัติมหาศาลไว้ให้ครอบครัวและลูกหลาน เขาใช้มันเพื่อจักตั้งรางวัลชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่อมอบให้แก่ “คนที่ได้สร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่มนุษยชาติในปีที่ผ่านมา” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของรางวัลโนเบลนั่นเอง
หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวผิดนั้นกระตุ้นให้โนเบลมองไปยังอนาคตของตัวเองและรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เขาเห็น ถ้าเขายังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิมต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเมื่อเขาตายจริง ๆ พาดหัวก็อาจจะเป็น ‘พ่อค้าความตายถึงแก่ความตายแล้ว คราวนี้ตายจริง ๆ แล้ว’ ก็ได้
แต่นี่เขาใช้ ‘การคาดการณ์ถึงความเสียดาย’ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการลงมือทำตั้งแต่วันนี้เลยซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราทุกคนสามารถใช้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ลองถามตัวเองครับว่า ถ้าเกิดใหม่อีกครั้งเราจะยังใช้ชีวิตแบบนี้ไหม? เราจะเสียดายเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างที่ไม่ได้ทำเมื่อนอนอยู่บนเตียงแล้ววาระสุดท้ายกำลังจะมาถึง?
มีคำกล่าวของ วิกเตอร์ แฟรงเคิล จิตแพทย์ผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในสงครามโลกครั้งที่สองและผู้เขียนหนังสือ “ชีวิตไม่ไร้ความหมาย : Man’s Search for Meaning” บอกว่า
นั่นเป็นสิ่งที่โนเบลทำและเราก็ทำได้เช่นเดียวกัน