“คลื่น 6D ที่ถูกเร่งโดย COVID-19” อนาคตเก่าที่ถูกเร่งให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและรุนแรง
รอบนี้ต่ายไปอ่านหนังสือเรื่อง The Great Remake สู่โลกใหม่: สันติธาร เสถียรไทย และเห็นว่ามีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “คลื่น 6D ที่ถูกเร่งโดย COVID-19”
อนาคตเก่าที่ถูกเร่งให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและรุนแรง โดยในบทนี้เขาได้มีการคาดการณ์สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง(อยู่แล้ว) แต่ถูกเร่งให้เร็วขึ้นด้วยสถานการณ์ COVID-19
6D Wave
D แรกคือ Debt (สภาวะหนี้ท่วม)
หลังยุคโควิดทั่วทุกภาคส่วนเผชิญสภาวะหนี้ที่สูงขึ้นช่วงโควิด หนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจทำให้ เกิดภาวะที่เรียกว่า 2 เตี้ย 2 สูง
2 เตี้ย คือ
1.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงไปหลายปี
2.อัตราดอกเบี้ยนน่าจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
2 สูง คือ
1.ภาวะค่าเงินแข็ง
2.สัดส่วนหนี้ที่สูงขึ้น
D สองคือ Divided (ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น)
วิกฤตโควิด – 19 โจมตีโดยตรงกับคนที่สายป่านสั้นตอกย้ำปมความเหลื่อมล้ำให้รุนแรงมากขึ้น ธนาคารโลกประเมินไว้ว่าในปี 2020 สถานการณ์ การแพร่ระบาดไวรัสจะทำให้มีคนยากจนราว 111-150 ล้านคนทั่วโลก
ในกลุ่มบริษัทใหญ่ก็อาจหันมาใช้เครื่องจักร เพื่อเพิ่มความยืนหยุ่นท่ามกลางความไม่แน่นอนและความเสี่ยงจากการติดเชื้อ
D สามคือ Deglobalisation (การเสื่อมถอยของโลกาภิวัตน์
การค้าโลกเสื่อมถอยอยู่แล้วเพราะเทคโนโลยีใหม่ได้ลดบทบาทแรงงานในกระบวนการผลิตลง ทำให้ความจำเป็นที่จะต้องไปตั้งโรงงานในประเทศที่มีค่าแรงถูกมีความจำเป็นน้อยลง
กระแสชาตินิยมและต่อต้านโลกาภิวัตน์อาจรุนแรงกว่าเดิม เพราะ ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณสุขและอาหาร
D สี่คือ Divergence (การเปลี่ยนขั้วอำนาจ)
ขั้วอำนาจเศรษฐกิจโลกอาจขยับมาที่เอเชียมากขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นของวิกฤตยุโรปและอเมริกาควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
มีการทำข้อตกลงการค้า Regional Comprehensive Economic Partnership(RCEP) ที่เป็นดั่งการรวมเอเชียและอาเซียน ซึ่งน่าจะดึงดูดนักลงทุนและขยายห่วงโซ่การผลิตให้เข้ามาในภูมิภาคอาเซียนได้เพิ่มขึ้น
D ห้าคือ Digitalisation (การเข้าสู่โลกดิจิทัล)
ก่อนยุคโควิด ดิจิทัลได้เปลี่ยนสถานะจาก “อาหารเสริม” มาเป็นปัจจัยในการดำเนินที่คนและธุรกิจขาดไม่ได้ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลถูกนำมาปรับใช้อย่างเข้มข้นและแพร่หลายมากกว่าเดิมเช่น โซเชียลมีเดีย ออนไลน์แบงกิง การศึกษาออนไลน์ การซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซและการส่งอาหาร
มากไปกว่านั้นเศรษฐกิจดิจิทัลยังมาคู่กับ D Data และ D Democratisation
D หกคือ Degradation of Environment (ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม)
วิกฤตโควิดทำให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลในหลายประเทศ เช่น ยุโรป และเกาหลีใต้ก็มองวิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสในการกลับมาทบทวนถึงโมเดลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับเติม “สีเขียว” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย
ในตอนท้ายของบทนี้ เขาได้กล่าวว่า
สรุปและอ้างอิงมาจากหนังสือ
The Great Remake : สันติธาร เสถียรไทย