อ่านแล้วอิน : จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัว(Adaptive Unconscious)
หลายคนอาจจะรู้จักคำว่า “จิตไร้สำนึก unconscious” ซึ่งเป็นคำที่รู้จักกันดีจาก Sigmund Freud (นักจิตวิทยาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดจิตวิเคราะห์) จิตไร้สำนึกเป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความรู้สึกนึกคิดใต้จิตใต้สำนึกของเราที่รวบรวมสิ่งที่เป็นความปรารถนาอันชั่วร้ายของเรา
แต่ “จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัว(Adaptive Unconscious)” ต่างกันตรงที่ว่าเป็นจิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวเป็นการที่เราประมวลผลข้อมูลมากมายซึ่งเราจำเป็นต้องการในการดำรงชีวิต เช่น การตัดสินใจจะเขยิบหนีอย่างรวดเร็วเมื่อมีอะไรจะพุ่งชน
“สมองจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อถ่ายโอนความคิดขั้นสูงอันสลับซับซ้อนไปเป็นหน้าที่ของจิตไร้สำนึก เหมือนระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยจิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวจะหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมในการประเมินสถานการณ์ เตือนให้เรารับรู้ถึงการกำหนดเป้าหมาย อันตราย และยังกระตุ้นให้เราตอบสนองอย่างชาญฉลาด และมีประสิทธิภาพ” (Malcome Gladwell, P.16) ซึ่งเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ Stranger to Ourselves โดย Timothy D. Wilson
จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวเป็นกระบวนการอัตโนมัติที่ไม่ต้องการการสำนึก ความตั้งใจ การควบคุมหรือแม้กระทั่งประสิทธิภาพ พูดง่ายๆก็คือเราไม่จำเป็นต้องใช้ตระกะหรือเหตุผล จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวจะทำงานอย่างอัตโนมัติเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจในเรื่องต่างๆภายในเสี้ยววินาที อาจจะฟังดูน่างง แต่ความจริงกระบวนการอัตโนมัตินี้เป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้น เพื่อใช้งานได้และจะเป็นประโยชน์แก่คนที่พึ่งพาระบบอัตโนมัตินี้
จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัว เป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาใช้ในการอธิบายกระบวนการที่เราตัดสินใจในตัวเองว่า ในแต่ละวันที่เราได้รับข้อมูลมากมายใน เราตัดสินใจยังไง ภายใต้ประสิทธิภาพกับทรัพยากรทางปัญญาที่มีอยู่อย่างจำกัด ระบบอะไรในจิตใจที่เราใช้ทำการประมวลผลข้อมูล เพราะมันไม่มีทางที่เราจะสามารถตัดสินใจโดยใช้ “สติ” ได้ทุกครั้งไป อาจกล่าวได้ว่าเราตัดสินใจกับเรื่องต่างๆ โดยการคิดเพียงเสี้ยววินาทีจากข้อมูลเล็กๆน้อยๆที่ผ่านตาเรา
เช่น ถ้าผู้เขียนเล่าว่ามีชายคนหนึ่งเดินผ่านหน้าบ้าน แล้วคนที่อยู่ในบ้านตะโกนว่า “อย่ามาเดินผ่าน” จากนั้นผู้เขียนถามว่าคุณคิดว่าชายคนนี้หยาบคายหรือไม่?
“…….”
ผู้อ่านหลายคนอาจจะคิดว่า “หยาบคายสุดๆ”
นี่คือสิ่งที่จิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวทำงาน เราสามารถที่จะตัดสินใจและประมวลผลเหตุการณ์ต่างๆได้ภายในเสี้ยววินาที ทั้งที่เราอยู่ในโลกของการตัดสินใจอย่างมีสติเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ หลายครั้งเราคิดว่ากาตัดสินใจอย่างรวดเร็วนั้นได้ผลดีเสียกว่าการที่เราค่อยๆคิดและตัดสินใจเสียอีก
หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง ที่เป็นพลังของจิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัว ตอนที่เราต้องกรอกแบบประเมินงานสัมมานาสักทีหนึ่ง เราสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในการตอบคำถามว่างานสัมมนาวันนี้ดีหรือไม่ ในเรื่องของการจัดเตรียมสถานที่ ความสามารถของผู้บรรยาย การดำเนินรายการ เราใช้เวลาในการประเมินนี้ไม่ได้นาน ไม่ว่าแบบประเมินนี้จะถูกส่งมาให้เราทำก่อนหรือหลังงานสัมมนา
ในหนังสือเรื่อง “คิดให้น้อยลงแล้วจะเห็นได้ลึกกว่า” ได้ยกตัวอย่างการศึกษาของ นาลินี แอมบาดี(Nalini Ambady นักจิตวิยาและอาจารย์ผู้สอนที่มหาวิทยาลัย Stanford) กรณีศึกษานั้นเธอให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอที่กำลังแสดงภาพของอาจารย์ที่กำลังสอนเป็นเวลาสิบวินาที โดยปิดเสียงเอาไว้ จากนั้นก็ให้เหล่าผู้ร่วมทดสอบประเมิรประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ท่านนั้น

การศึกษาพบว่าเหล่าผู้ร่วมทำการทดสอบนั้นไม่มีปัญหาในการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์คนนั้นเลย และต่อมาเธอตัดคลิปให้สั้นลงเหลือเพียง 5 วินาที ผลประเมินก็ยังออกมาเหมือนเดิม แม้ว่านาลินีจะให้ผู้ร่วมทำการทดสอบดูคลิปวิดีโอที่มีความยาวเพียงสองวินาทีผลการประเมินก็ยังเหมือนเดิม จากนั้นนาลินีก็เอาผลการประเมินนี้ไปเทียบกับผลการประเมินของนักศึกษาที่ได้เรียนกับอาจารย์ท่านนี้ทั้งเทอมปรากฎว่าผลประเมินของทั้งสองกลุ่มแทบไม่ต่างกันเลย
การศึกษานี้ทำให้เห็นว่าคนที่ได้ดูคลิปวิดีโอแบบปิดเสียง แม้เพียงสองวินาทีขออาจารย์ที่ไม่เคยพบเจอกันมาก่อน ก็จะสามารถได้ข้อสรุปที่แม่นยำพอๆกับนักศึกษาที่ได้เรียนมาด้วยตลอดทั้งเทอม อาจกล่าวได้ว่านี่คือพลังและการทำงานของจิตไร้สำนึก
ซึ่งเรื่องนี้เป็นคอนเซ็ปต์หนึ่งของหนังสือเรื่อง “คิดให้น้อยลงแล้วจะเห็นได้ลึกกว่า” จากคุณ Malcolm Gladwell ที่จริงๆแล้วต่ายกะไว้ว่าจะมาเขียนรีวิว แต่กลายเป็นว่าอินกับเรื่องจิตไร้สำนึกเพื่อการปรับตัวไปก่อน อย่างไรก็ตามคนที่รอจ๋อมกับต่าย ขอเวลาอีกไม่นาน ไม่เกิน 7 ปี จ๋อมกับต่ายมาแน่นอน ;P