Agatha Christie : ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม
ถ้าพูดถึงนักเขียนนวนิยายอาชญากรรม ภาพที่เข้ามาในหัวคงจะไม่พ้นภาพของผู้ชายใส่แว่นสักคนที่สูบไปป์ แต่เอาเข้าจริง ในโลกแห่งนวนิยายอาชญากรรม นักเขียนที่เป็น Best Seller of All Time ของ Guinness World Records คือผู้หญิงอังกฤษที่ชื่อว่า “Agatha Christie”
เธอเป็นผู้เขียนนวนิยายอาชญากรรม 78 เล่มขาย นวนิยายของเธอมียอดขาย 2 พันล้านเล่มใน 44 ภาษาทั่วโลก นอกจากนี้ยังเขียนบทละคร 19 เรื่องและนิยายโรแมนติก 6 เรื่องภายใต้นามแฝง Mary Westmacott ความสำเร็จของเธอทำให้เธอมีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์คาดว่าจะมีมูลค่านับล้านดอลลาห์ต่อปี
ตำนานของ Christe ไม่ได้จบลงด้วยการมียอดขายเป็นสถิติโลก บทละครของเธอในเรื่อง The Mousetrap ยังสร้างสถิติบทละครที่ยาวที่สุดอีกด้วย
“Plots come to me at such odd moments, when I am walking along the street, or examining a hat shop...suddenly a splendid idea comes into my head.”
Agatha Christie, An Autobiography
Agatha Mary Clarissa Miller (อกาธา แมรี่ คลาริสซา มิลเลอร์) เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 1890 ที่ Torquay เมือง Devon ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ในครอบครัวชนชั้นกลาง เธอได้รับการศึกษาที่บ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อของเธอ ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน นิสัยรักการเล่าเรื่องของเธออาจจะมาจาก คลาร่า แม่ของเธอที่เป็นนักเล่าเรื่องที่ยอดเยี่ยม
เมื่ออกาธาอายุได้ 5 ขวบ ครอบครัวของเธอใช้เวลาช่วงหนึ่งในฝรั่งเศสโดย ที่นี่เอง ที่อกาธาได้เรียนรู้สำนวนภาษาฝรั่งเศส เมื่อเธออายุได้ 11 ปี ครอบครัวของเธอเกิดปัญหาทางการเงิน และพ่อของเธอเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย และอกาธาก็กลายเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของแม่เธอ
อกาธา คริสตี้พูดเสมอว่าเธอไม่มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นนักเขียน แม้ว่าเธอจะมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่ออายุสิบเอ็ดปีด้วยบทกวีในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในลอนดอน
เธอใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนในจินตนาการ เธอสอนตัวเองให้อ่านหนังสือและมีการศึกษาตามแบบแผนเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยจนกระทั่งอายุ 15 หรือ 16 ปี เธอถูกส่งตัวเรียนไปเรียนโรงเรียนสอนสุภาพสตรีในปารีส (Finishing School)
เมื่ออายุได้ 18 ปี เธอก็ได้ค้นพบความสามารถของเธอ เธอพบความสนุกสนานกับการเขียนเรื่องสั้น ซึ่งบางเรื่องได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยมีเพื่อนและนักเขียนชื่อ Eden Philpotts ที่ให้คำแนะนำ
มันเริ่มจากการที่เธอเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และแม่ของเธอแนะนำให้เธอเขียนเรื่องราวที่เธอชอบเล่า และความหลงใหลในชีวิตก็เริ่มต้นขึ้น ในช่วงวัยรุ่น นอกจากบทกวีบทแรกตอนอายุ 11 แล้ว เธอก็มีบทกวีอีกหลายเล่มที่ตีพิมพ์ใน The Poetry Review และเขียนเรื่องสั้นจำนวนหนึ่ง
อกาธา คริสตี้เขียนเกี่ยวกับโลกที่เธอรู้จักและเห็น ทหารสุภาพบุรุษ ขุนนางและสุภาพสตรี สปินสเตอร์ หญิงม่าย และแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนและคนรู้จักในครอบครัวของเธอ เธอเป็นนักสังเกต และมีคำอธิบายของเธอเกี่ยวกับการเมืองในหมู่บ้าน การแข่งขันในท้องถิ่น และความอิจฉาริษยาในครอบครัว
“คุณยาย เป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด และมองเห็นมากกว่าที่เห็น” —
Mathew Prichard หลานเพียงคนเดียวของอกาธาพูดถึงเธอไว้
แรงบันดาลใจของ Hercule Poirot มาจากไหน?
‘ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม’ เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากผลงานที่ชื่อ The Mysterious Affair at Styles (1920) ชื่อไทย “ความลี้ลับเหนือเคหาสน์สไตลล์ คดีแรกของปัวโรต์” โดยมี Hercule Poirot (แอร์คูล ปัวโรต์) ตัวละครที่มีคาแรกเตอร์เป็นชาวเบลเยียม ตาสีเขียว หุ่นตุบตั๊บ มีเอกลักษณ์ที่ทาหนวดด้วยน้ำมันจนแข็งและมีปลายจมูกเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ และมีมิสมาร์เปิล เป็นนักสืบหญิงชาวบ้าน ที่มีคาแรกเตอร์เป็นสาวแก่ โดยมีวิธีการไขคดีแบบนักสิบชาวบ้าน โดยงานเขียนของอกาธาจะมีประเด็นจากมุมมองผู้หญิงที่พูดถึงธรรมชาติของผู้คน เช่น การชอบซุบซิบและสังเกตสังกาเรื่องชาวบ้าน
ในเว็บไซต์ของอกาธาเขียนไว้ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีผู้ลี้ภัยชาวเบลเยียม ย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ชนบทของอังกฤษ ที่เมืองที่เธออยู่ก็เช่นกัน แม้ว่านักสืบปัวโรต์จะได้มีตัวตนอยู่จริง แต่ตัวละครตัวนี้เกิดจากการที่อกาธาจิตนาการว่าผู้ลี้ภัยชาวเบลเยี่ยมที่เธอเห็น จะอดีตตำรวจเบลเยียมผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นนักสืบที่ยอดเยี่ยมสำหรับนวนิยายเรื่องแรกของเธอที่ชื่อ The Mysterious Affair at Styles — Hercule Poirot ถือกำเนิดเช่นนี้
ชีวิตครอบครัวและช่วงท้ายของชีวิต
อกาธาแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกเธอให้กำเนิดบุญสาวเพียงคนเดียวของเธอ Rosalind Margaret Clarissa ก่อนจะหย่าร้างกับสามีในปี 1926 เรื่องการหย่าร้างของเธอถูกให้ความสนใจเป็นวงกว้างจากการหายไปตัวไปของเธอ โดยมี วิลเลียม จอยน์สัน-ฮิกส์ รัฐมนตรีมหาดไทยกดดันตำรวจให้ตามหาเธอ และมีการประกาศตามหนังสือพิมพ์โดยเสนอที่จะให้เงินรางวัลมูลค่า 100 ปอนด์ (ประมาณเทียบเท่ากับ 6,000 ปอนด์ในปี 2020) มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมากกว่าหนึ่งพันคน อาสาสมัคร 15,000 คน และเครื่องบินหลายลำ ออกตรวจค้นหาตามพื้นที่ต่าง ๆ
การหายตัวไปของคริสตี้ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของเดอะนิวยอร์กไทมส์ แม้จะมีการตามล่าอย่างกว้างขวาง แต่ก็ไม่มีใครพบเธอเลยตลอด 10 วันที่เธอหายตัวไป และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2469 เธอถูกพบอยู่ที่โรงแรมสวอน ไฮโดรพาทิค ในเมืองฮาร์โรเกต รัฐยอร์กเชียร์ ห่างจากบ้านของเธอในซันนิงเดลไปทางเหนือ 184 ไมล์ (296 กม.)
หนังสืออัตชีวประวัติของคริสตี้ไม่ได้พูดถึงการหายตัวไปของเธอ และแพทย์สองคนวินิจฉัยว่าเธอกำลังทุกข์ทรมานจาก “การสูญเสียความทรงจำอย่างแท้จริงไปอย่าวไม่ต้องสงสัย” ทว่าความเห็นยังคงแตกแยกจากเหตุผลของการหายตัวไปของเธอ บางคน รวมทั้งมอร์แกน นักเขียนชีวประวัติของเธอ เชื่อว่าเธอหายตัวไปในระหว่างที่ยังมีความทรงจำต่าง ๆ อยู่แน่นอน ส่วนผู้เขียนที่ชื่อจาเร็ด เคด สรุปว่าคริสตี้วางแผนเรื่องนี้เพื่อทำให้สามีของเธออับอาย แต่ไม่ได้คาดหวังผลประโลมโลกที่จะเกิดขึ้นต่อสาธารณะ ส่วนลอร่า ธอมป์สัน ผู้เขียนชีวประวัติของคริสตี้ให้มุมมองทางเลือกว่าคริสตี้อาจหายตัวไประหว่างที่มีอาการทางจิตใจ ซึ่งเธอตระหนักถึงการกระทำของเธอ แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง อีกทั้งปฏิกิริยาในสาธารณะในขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นแง่ลบ ที่มีการตั้งสมมติฐานว่าคือการแสดงหรือความพยายามที่จะใส่ร้ายสามีของเธอในข้อหาฆาตกรรม
คริสตี้ยื่นคำร้องเพื่อหย่า และได้รับอนุญาตให้หย่ากับสามีของเธอในเดือนเมษายน 1928 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน อาร์ชีแต่งงานกับแนนซี่นีลในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ซึ่งคริสตี้ยังคงดูแลลูกสาวของพวกเขา โรซาลินด์ และใช้นามสกุลคริสตี้สำหรับการเขียนของเธอ
ในปี ค.ศ. 1928 คริสตี้ออกจากอังกฤษและขึ้นรถ (Simplon) Orient Express ไปยังอิสตันบูลแล้วไปยังแบกแดด ในการเดินทางครั้งที่สองนั้น เธอได้พบกับนักโบราณคดี Max Mallowan ซึ่งอายุน้อยกว่าเธอ 13 ปี คริสตี้และมัลโลแวนแต่งงานกันในเอดินบะระในเดือนกันยายน พ.ศ. 2473 [13]: 295–96 [55] การแต่งงานของพวกเขาดำเนินไปจนกระทั่งคริสตี้เสียชีวิตในปี 1930 เธอเดินทางไปกับมัลโลแวนในการเดินทางสำรวจทางโบราณคดี และการเดินทางของเธอร่วมกับเขามีส่วนทำให้เกิดนิยายของเธอหลายเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องราวในตะวันออกกลาง เช่น Peril at End House
และในช่วงนั้นเองเป็นช่วงที่ คริสตี้ใช้ประสบการณ์การเดินทางโดยรถไฟระหว่างประเทศของเธอ เขียนนวนิยายเรื่อง Murder on the Orient Express ในปี 1934 โดยมี The Pera Palace Hotel ในอิสตันบูล อ้างว่าหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นที่นั่น และดูแลห้องของคริสตี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เขียน
การเดินทางกับรถไฟ Orient Express กลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอย่าง “Murder on the Orient Express” โดยเป็นเรื่องราวของนักสืบปัวโรต์กับผู้ต้องสงสัยทั้ง 13 คนบนรถไฟที่หรูหรา นวนิยายตอนนี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ถึง 3 ครั้งในปี 1974, 2001 และปี 2016 โดยในภาพยนต์ที่สร้างจากนวนิยายของเธอจะได้นักแสดงระดับตำนานมาเล่นเสียทุกรอบที่มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ การที่ได้รับการตอบรับเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่านวนิยายของอกาธาเป็นตำนานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
*ทั้งนี้ Death on the Nile อีกหนึ่งการเดินทางของนักสืบปัวโรต์ ก็กำลังจะกลับมา ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี 2022
source :
https://thematter.co/social/7-fictional-detectives/
https://www.guinnessworldrecords.com/news/2018/10/5-page-turning-book-facts
https://www.agathachristie.com/about-christie
https://en.wikipedia.org/wiki/Agatha_Christie
https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_752182
https://www.agathachristie.com/about-christie/how-christie-wrote
https://www.goodreads.com/author/show/123715.Agatha_Christie