Barry Schwartz : เมื่อทุกอย่างเป็นไปได้ ความพึงพอใจก็น้อยลงไปด้วย
นักจิตวิทยา แบร์รี ชวาร์ตซ์ (Barry Schwartz) สงสัยในหลักการของ “เสรีภาพในการเลือก” โดยในการศึกษาของเขาบ่งบอกว่าทางเลือกไม่ได้ทำให้เรามีอิสระมากขึ้น แต่ถูกดึงรั้งไว้มากกว่า ทางเลือกไม่ได้ทำให้มีความสุขมากขึ้น และในทางเดียวกันกลับทำให้เราไม่พอใจมากขึ้นต่างหาก (dissatisfied)
เขาเริ่มพูดบน TED Talks ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “หลักคำสอนอย่างเป็นทางการ” (official dogma) หลักคำสอนอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับอะไรล่ะ? มันคือหลักคำสอนอย่างเป็นทางการของสังคมอุตสาหกรรมตะวันตกทั้งหมด บ่งบอกว่า :
ถ้าหากเราต้องการทำให้เกิดสวัสดิภาพของประชาชนมากที่สุด เราก็ต้องทำให้เกิดเสรีภาพส่วนบุคคลมากที่สุด
เหตุผลก็คือ เสรีภาพเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่มีค่า และจำเป็นต่อมนุษย์ และเมื่อทุกคนมีเสรีภาพ ทุกคนก็จะสามารถทำทุกอย่างได้ตามใจ สามารถทำให้เกิดสวัสดิภาพของตนเองให้มากที่สุดได้ และไม่มีใครต้องมาตัดสินใจแทนเรา
วิถีทางที่จะทำให้เกิดเสรีภาพมากที่สุดนั้น ก็คือการทำให้มีตัวเลือกมากที่สุด ยิ่งตัวเลือกมากเท่าไหร่ คนก็จะมีเสรีภาพมากเท่านั้น เมื่อเสรีภาพที่มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดสวัสดิภาพมากขึ้น
แนวคิดนี้ถูกปลูกฝั่งและมันลงฝังลึกลงไปในชีวิตของทุกคน เช่น การเติบโตของสินค้าที่อยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต มีน้ำสลัด 175 ชนิด ซึ่งยังไม่รวมน้ำมันมะกอกอีก 10 ชนิด และน้ำส้มสายชูหมักอีก 12 ชนิดที่สามารถซื้อได้ ซึ่งทำให้เกิดทางเลือกในการทำสลัดของคุณอย่างมากมาย ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่ 175 ชนิดของน้ำสลัด จะไม่มีอันไหนเหมาะกับคุณเลย ซึ่งนี่คือสิ่งที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็น
ในแง่มุมอื่นของชีวิตที่มีความสำคัญกว่าการซื้อของ ปัญหาของตัวเลือกที่มากเกิน ก็เกิดขึ้นเช่นกัน ในแง่การดูแลสุขภาพ — มันเป็นไปไม่ได้แล้วที่คุณจะไปหาหมอ แล้วหมอบอกสิ่งที่คุณต้องทำ ปัจจุบันนี้หมอจะบอกคุณว่า เราสามารถรักษาแบบ ก. ได้ หรือรักษาแบบ ข. ได้ ก. มีข้อดีตามนี้ มีข้อเสียตามนี้ ข. มีข้อดีตามนี้ มีข้อเสียตามนี้ คุณต้องการรักษาแบบไหน? แล้วคุณก็จะพูดว่า “หมอครับ ผมควรทำแบบไหน?” แล้วหมอก็จะพูดว่า ก. มีข้อดีข้อเสียตามนี้ ข. มีข้อดีข้อเสียตามนี้ คุณต้องการรักษาแบบไหน? แล้วคุณก็จะพูดว่า “แล้วถ้าหมอเป็นผม หมอจะทำแบบไหน?” แล้วหมอก็จะพูดว่า “แต่ผมไม่ใช่คุณนะ” ผลลัพธ์ที่ได้ — เราเรียกมันว่า “อิสรภาพของคนไข้” มันดูเป็นสิ่งที่ดี แต่จริงๆ แล้ว มันก็คือการโอนถ่ายภาระ และความรับผิดชอบ ในการตัดสินใจ จากคนที่รู้ ไปสู่คนที่ไม่รู้อะไรเลย
ทางเลือกจึงกลายเป็นสิ่งที่เราไม่ได้สืบต่อเอกลักษณ์ของเรา แต่เราต้องเราสร้างมันขึ้นมา และเราสามารถสร้างตัวเราใหม่กี่ครั้งก็ได้ ตามใจชอบ นั่นก็หมายความว่า ทุกเช้าที่คุณตื่นขึ้นมา คุณต้องตัดสินใจว่าคุณต้องการเป็นคนแบบไหน ในแง่การแต่งงานและครอบครัว เคยมีสมัยที่เกือบทุกคนมีความเห็นที่คล้ายกัน นั่นก็คือ คุณแต่งงานให้เร็วที่สุด แล้วคุณก็มีลูกให้ได้เร็วที่สุด ทางเลือกเดียวที่มีก็คือ กับใคร? ไม่ใช่ที่ไหน หรือทำอะไรต่อ
นั่นหมายความว่า เสรีภาพในการเลือก ที่เรามีต่องานที่ทำ นั่นก็คือ เราต้องตัดสินใจ ตัดสินใจอีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้ง ว่าเราควรจะทำงานหรือไม่ เราสามารถไปดูลูกของเราเล่นฟุตบอล และเรามีโทรศัพท์มือถืออยู่ที่เอวข้างหนึ่ง และ Blackberry อยู่ที่เอวอีกข้าง เครื่องโน๊ตบุ๊คอยู่บนตัก และถึงแม้ว่าทั้งสามอย่างจะถูกปิด ทุกนาทีที่คุณดูลูกของคุณเล่นฟุตบอล คุณก็จะถามตัวเองว่า “ฉันควรจะรับสายนี้มั้ย? ฉันควรตอบอีเมล์นี้มั้ย? ฉันควรเขียนจดหมายฉบับนี้หรือเปล่า?” และถึงแม้ว่าคุณจะตอบว่า “ไม่” มันก็ยังจะทำให้การไปดูลูกเล่นฟุตบอล ต่างจากที่มันควรจะเป็นอย่างมาก
สมัยก่อนทุกอย่างไม่ได้ซับซ้อนขนาดนี้ เรามีทางเลือกบ้าง แต่ก็ไม่ได้มากนัก
แต่ในโลกปัจจุบัน ทุกอย่างเป็นทางเลือกทั้งหมด คำถามก็คือว่า แล้วนี่เป็น”สิ่งที่ดี”? หรือเป็น “สิ่งที่ไม่ดี”? คำตอบก็คือ “ใช่ทั้งคู่เลย” ทั้งดีและไม่ดี
ในส่วนที่ดีนั้นเราพอจะทราบกันแล้ว เพราะฉะนั้นชวาร์ตซ์เลยเล่าเพียงผลกระทบในแง่ลบสองแบบ
- ผลกระทบแรก มันทำให้เกิดความติดขัดและเป็นอัมพาต แทนที่จะเป็นการปลดปล่อย ด้วยทางเลือกที่มากมายให้เราเลือก ผู้คนรู้สึกได้ว่า การต้องเลือกกลายเป็นสิ่งที่ลำบาก คุณต้องการตัดสินใจให้ถูกต้อง ถ้าหากมันจะมีผลตลอดไป ใช่มั้ย? คุณไม่ต้องการที่จะเลือกกองทุนที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งน้ำสลัดที่ไม่เหมาะกับคุณ นั่นคือผลกระทบอย่างแรก
- ผลกระทบอย่างที่สองก็คือ ถึงแม้ว่าเราจะสามารถฝ่าฟันกับผลกระทบข้อแรกมาได้แล้ว และตัดสินใจเลือกได้ คุณก็จะไม่มีความสุขกับการตัดสินใจของคุณ ยิ่งเสียกว่าตอนที่คุณมีทางเลือกเพียงนิดเดียว และมันมีหลายเหตุผลสำหรับสิ่งนี้ เหตุผลแรกก็คือ ด้วยน้ำสลัดนานาชนิดที่คุณเลือกได้ ถ้าคุณซื้อไป แล้วมันไม่ได้เพอร์เฟค — แล้วคุณรู้มั้ยว่าน้ำสลัดคืออะไร มันเป็นไปได้ง่ายมากที่จะนึกถึงทางเลือกอื่นๆ คิดว่า มันน่าจะดีกว่าแน่นอน และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ การที่คุณนึกถึงทางเลือกอื่น ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีที่ตัดสินใจลงไป และการเสียดายนี้ จะถูกลบออกจากความพึงพอใจที่คุณตัดสินใจลงไป ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการตัดสินใจที่ดีแล้ว เมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ก็จะทำให้ยิ่งเสียดายสิ่งอื่นๆง่ายขึ้น นั่นก็คือการผิดหวังกับสิ่งที่คุณเลือกไป
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ค่าเสียโอกาส การที่เราให้ความสำคัญบางสิ่ง ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเทียบมันด้วย เมื่อมีทางเลือกหลายทาง เราก็จะจินตนาการถึงสิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสิ่งที่เราทิ้งมันไปได้อย่างง่ายดาย ทำให้คุณพอใจกับสิ่งที่คุณเลือกน้อยลง
เรามีความคาดหวังที่สูงขึ้น เพื่อเลือกยีนส์บ้าๆ เหล่านั้น เขาใช้เวลาเลือกยีนส์ที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่เขาเคยมี เขาทำได้ดีขึ้น เพราะทางเลือกทั้งหมดที่มีทำให้เขาได้มันทำให้กางเกงของเขาเป็นตัวที่ดีขึ้น แต่เขากลับรู้สึกแย่ลง ทำไมล่ะ? เหตุผลที่เขารู้สึกแย่ลงก็คือ ด้วยตัวเลือกทั้งหลายที่มี ความคาดหวังต่อยีนส์ที่เขาซื้อก็มากขึ้น จากที่เคยมีความคาดหวังน้อยมากๆ จนไม่เคยมีความคาดหวังเจาะจง สมัยที่ยังมียีนส์แค่แบบเดียว แต่ตอนที่มันมีเป็น 100 ชนิดนี่สิ เขาก็คาดหวังว่ามันน่าจะมีซักตัวที่เพอร์เฟคจริงๆ และสิ่งที่เขาได้มันก็ดี แต่ไม่เพอร์เฟค เขาก็เลยเปรียบเทียบมันกับสิ่งที่เขาคาดไว้ และสิ่งที่เขาได้ ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง เทียบกับที่คาดไว้ การเพิ่มตัวเลือกให้ผู้คน ไม่ได้ช่วย แต่จะทำให้คนคาดหวังมากขึ้น
ความหดหู่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างมากในโลกสมัยใหม่ ความหดหู่ที่แพร่หลาย และการฆ่าตัวตาย ก็คือการที่คนมีประสบการณ์ที่ผิดหวัง เพราะมาตรฐานเขาสูงมาก และเมื่อใดที่เขาต้องอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เขาก็จะคิดว่า เขาเป็นต้นเหตุ โดยรวมแล้วเราได้สิ่งที่ดีขึ้น แต่เรารู้สึกแย่ลงจากความตั้งใจของเรา
ตอนท้ายชวาร์ตซ์กล่าวไว้ว่า
“ถ้าหากบางสิ่งที่ทำให้เรามีตัวเลือกมากมายในสังคมของเรา ถูกถ่ายโอนไปยังสังคมที่ผู้คนมีตัวเลือกน้อยเกินไป ไม่ใช่แค่ว่าชีวิตคนเหล่านั้นจะดีขึ้น ชีวิตของพวกเราก็จะดีขึ้นเช่นกัน”
นี่คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่า การพัฒนาแบบ Pareto การกระจายรายได้จะทำให้ชีวิตทุกคนดีขึ้น — ไม่ใช่เฉพาะคนยากจน — เพราะปัญหาของการที่ตัวเลือกมากเกินไปกำลังบั่นทอนเรา คุณไม่ได้มีเสรีภาพ คุณกำลังเป็นอัมพาตจากทางเลือกที่มากเกินไป
เมื่อทุกอย่างเป็นไปได้ มันทำให้ความพึงพอใจของคุณน้อยลงไปด้วย
ที่มา : https://www.ted.com/talks/barry_schwartz_the_paradox_of_choice/transcript