ได้อะไรจากการไม่ทำอะไร กับ หนังสือนี่เราใช้ชีวิตยากเกินไปหรือเปล่านะ
ด้วยความที่หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นมาบนความไม่ทำอะไรที่ตัวเองไม่ต้องการทำ แล้วได้ค้นพบความสบายใจใหม่ๆ การรีวิวเล่มนี้จึงเป็นการรีวิวแบบสบายๆตาม เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านแล้วรู้สึกอยากถอนหายใจ แล้วนอนกางแขนกางขาอยู่บนเตียงนิ่งๆเพื่อฟังพอดแคสต์ที่เล่าถึงหนังสือเล่มนี้
- ผู้เขียนชื่อ ฮาวัน
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสัญชาติเกาหลีที่เขียนโดยนักเขียน และนักวาดภาพประกอบที่ลาออกจากงานบริษัทมาใช้ชีวิตแบบที่ตัวเองต้องการ เล่มนี้คล้ายกับสมุดบันทึกประจำวันของคุณฮาวัน อ่านแล้วอาจจะได้อารมณ์เหมือนอ่านโพสต์ของเพื่อนนักเขียนคนหนึ่งที่เขาโพสต์เล่าเรื่องตัวเองในชีวิตบนเฟซบุ๊ค
คุณฮาวันจะเขียนบอกเล่าเกี่ยวกับชีวิตของเขาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันที่เขาลาออกจาก ว่าได้พบเจอหรือได้ทำอะไรบ้าง รวมถึงแสดงมุมมองต่อเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องการทำงาน การใช้ชีวิต
- หนังสือเล่มนี้อ่านง่ายไหม?
หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย ใช้ภาษาที่เป็นกันเอง อันนี้ต้องให้เครติดคุณ ตรองสิริ ทองคำใส ผู้แปล อีกทั้งยังหนังสือเล่มนี้ยังมีภาพประกอบน่ารักทั้งเล่มด้วยความที่คุณฮาวันเป็นคนวาดภาพประกอบเอง หนังสือเล่มนี้จึงมีภาพประกอบน่ารักๆและดูสบายๆเต็มไปหมด
- นี่เราใช้ชีวิตยากเกินไปหรือเปล่านะ บอกไหมว่าอะไรบ้างที่ยาก
1.การกล้าหาญในการกล้ายอมแพ้
เป็นคำถามที่เราต้องถามต้องเองตั้งแต่แรกเลยว่ามันยากเกินไปไหมนะ กับการใช้ชีวิตแบบนี้ มีพาร์ทหนึ่งในหนังสือที่ผู้เขียนชอบมากชื่อ ตอนว่า “ไอค้านท์ดูอิท” สำหรับมนุษย์ปุถุชนทั่วไปที่คิดว่าเราจะยอมแพ้ไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ทุกอย่างสิ แล้วก็พยายามต่อไป คุณฮาวันบอกว่าการต้องพยายามต่อไปเพื่อประวิงความล้มเหลวแบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่นำมาซึ่งความสุข หาดจะให้ผู้เขียนคิดเปรียบเทียบก็คงเหมือนการพยายามปีนยอดเขาขึ้นไปแต่สุดท้ายก็เจอแต่ความว่างเปล่า คุณฮาวันชี้ให้เราเห็นว่าในบางครั้งเราต้องไม่กลัวที่จะพูดคำว่า “ฉันทำไม่ได้” เพื่อให้ชีวิตได้เดินหน้าต่อไป และการที่เราจะทำอะไรสักอย่างไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด
คุณฮาวัลบอกว่าชีวิตคนเราต้องใช้กลุยุทธ์คัตลอส(cut loss) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของการเล่นหุ้น เมื่อหุ้นตัวหนึ่งกำลังตก บางทีเราต้องยอมขายขาดทุนเพื่อให้ทุนไม่จมลงไปมากกว่านี้ เพราะผลเสียหายเล็กน้อยอาจลุกลามใหญ่โตเมื่อเราพลาด
เราควรกล้าหาญก็จริงแต่หลายครั้งเราต้องกล้าหาญที่จะยอมแพ้ด้วย
2.ยอมรับว่าความขยันไม่ใช่หนทางเดียวของความสำเร็จ
คล้ายกับเรื่องบันไดมีไว้เดินทีละขั้นในโลกที่ขั้นบันไดแต่ละบ้านไม่เท่ากัน
เราคุ้นชินกับการขยันแข่งขัน โดยคิดว่าถ้าเราพยายามแล้วยังไงซะ เราจะสำเร็จจนลืมไปว่าบางคนถ้าเราจะสำเร็จอยู่เฉยๆก็อาจจะสำเร็จได้ เช่น กรณีที่คุณฮาวันยกขึ้นมาในหนังสือที่เล่าว่าผู้หญิงกับผู้ชายสองคนลอยคออยู่กลางทะเล คนหนึ่งว่ายหาฝั่งเพื่อจะเอาตัวรอด อีกคนลอยคอกินเบียร์แล้วสุดท้ายทั้งสองคนก็รอดเหมือนกัน
“ชีวิตไม่เคยยุติธรรม อย่าโทษว่าผิดที่เธอไม่พยายาม”
3.ปลง
ปลงซะเถอะ เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ที่หนังสือเล่มนี้พยายามจะบอกกับเรา รวมถึงเป็นคอนเซ็ปต์หลักของหนังสือเล่มนี้ด้วยเช่นกันในหนังสือเล่มนี้เขาได้เล่มถึง Satori Generation แปลไดว่ากลุ่มคนที่ตระหนักและบรรลุ การที่เราปลงเป็นเรื่องที่ดีต่อเรา อย่างพระพุทธเจ้าก็บรรลุนิพพานได้ก็เพราะว่า “ปลง” เทรนด์ของเด็กรุ่นใหม่ที่ฮาวันพูดถึงคือการที่พวกเขาปลงและใช้ชีวิตแบบสมถะ
คุณฮาวันชี้ให้เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้คนเกิดปลงกันเป็นเพราะ ระบบสังคมที่ไม่ทำหน้าที่ให้ดีพอ บีบคั้นจนคนถูกบังคับให้ “ไม่มีโดยที่ไม่ตั้งใจ”
แต่สุดท้ายแล้วไม่ใช่เพราะมีหวังจึงสุขใจ แต่เพราะสุขใจจึงมีหวัง
- สรุปการรีวิว
เล่มนี้จะสอนให้เราขี้เกียจ และมองโลกอย่างปลดปลง แต่พอเราเข้าใจเราจะมีความสุขและหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยแหละ