ทำยังไงให้อ่านหนังสือได้อาทิตย์ละ 1 เล่ม?
ศาสตราจารย์ เจอรัลด์ ซอลต์แมน (Gerald Zaltman) จากฮาร์วาร์ดค้นพบว่า การตัดสินใจของคน 95% ไม่ได้มาจากตรรกะหรือการคิดอย่างมีเหตุผล แต่มาจากอารมณ์ หรือความรู้สึกที่มีต่อการกระทำนั้นๆ
Pomodoro Technique – เทคนิคการบริหารจัดการเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุด คิดค้นโดย ฟรันเชสโก ซิริลโล (Francesco Cirillo) ในช่วง 80s เหมาะสำหรับคนทำงานออฟฟิศและที่โต๊ะ
วันก่อนมีโอกาสได้นั่งดื่มกาแฟกับพี่หนุ่ม-โตมร ศุขปรีชา นักเขียนและคอลัมนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งของบ้านเรา
มีเทคนิคหนึ่งที่ผมใช้แล้วแก้ปัญหานี้ได้เลยอยากมาแชร์ให้ฟังกันครับ นั่นก็คือการจำกัดสิ่งที่ ‘ต้องทำ’ ในแต่ละวันออกมา 3 อย่าง แล้วลงมือทำ แค่นั้นเลยครับ
วันนี้มีโอกาสเป็นวิทยากรที่โครงการ YEC ของ Step CMU ไปแชร์ประสบการณ์การทำ Busy Rabbit ตลอดสามปีที่ผ่านมาว่ามันชอกช้ำระบมมากมายขนาดไหน (หัวเราะทั้งน้ำตา เอามือก่ายหน้าผากเบาๆ) เล่าถึงประสบการณ์ความเปลี่ยนแปลงและโอกาสในการเติบโตต่อไปข้างหน้าว่าจะเป็นยังไงบ้าง ระหว่างที่รอขึ้นพูด ก็มีโอกาสได้นั่งฟังวิทยากรท่านอื่นๆอีกหลายท่าน ทุกคนล้วนประสบความสำเร็จมากมาย ได้แต่นั่งทึ่งในความสามารถของแต่ละคนแล้วก็มองกลับมาดูตัวเองก็รู้สึกว่ายังห่างไกลพวกเขาเหล่านั้นมาก จังหวะนั้นก็เริ่มรู้สึกประหม่าเล็กน้อย อารมณ์เหมือนอยู่ไม่สุข รีบนั่งแก้สไลด์ของตัวเองเพราะรู้สึกว่ายังไม่ได้ดีพอ ควรใส่ตรงนั้นตรงนี้เพิ่ออีกหน่อย ทั้งๆที่เมื่อคืนก็ตั้งใจทำหลายชั่วโมงและเช้านี้ก็ตื่นมาแต่เช้าเพื่อเรียบเรียงความคิดเขียนเป็นบทความยืดยาวเพื่อให้สมองซึมซับข้อมูลให้มากที่สุด แต่ก็ดูเหมือนว่าตอนนี้มันยังไม่ดีพอ
“เอาหน่า เมื่อเช้าวิ่งมาแล้ว วันนี้ขอกินเลย์สักถุงหนึ่งก็แล้วกัน” “เอาเบอร์เกอร์กับเฟรนช์ฟราย…ขอโค้กซีโร่นะครับ” “วันนี้กินวิตามินเม็ดไปแล้ว ขอสูบบุหรี่สักมวนละกัน” มีครั้งหนึ่งที่นั่งจับไข่คุยกัน…เฮ้ย! จับเข่าคุยกันกับเพื่อนๆเรื่องออกกำลังกาย (แหมเปิดประโยคมาก็มีเสียวซะละ) ถึงเหตุผลว่าทำไมหลายคน รวมถึงพวกเรากันด้วย หลังจากที่ตั้งปฏิญาณซะดิบดีว่าจะกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจัง หลายคนก็ทำได้ต่อเนื่องสักพักหนึ่ง แต่สุดท้ายก็เริ่มเถลไถลออกนอกลู่นอกทางในที่สุด (มีส่วนน้อยที่ทำจนกลายเป็นนิสัยแล้วก็ดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง….อะ ปรบมือสิครับ)
วันก่อนมีโอกาสได้นั่งคุยกับน้องคนหนึ่งประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า ‘ความสุข’ น้องเล่าให้ฟังว่าตอนนี้อาชีพการงานก็โอเค งานไม่แย่ เจ้านายก็ดี ครอบครัวก็ไม่ได้เดือดร้อน เงินเก็บก็พอมีบ้าง แฟนก็ดีเข้าใจกัน มีเวลาว่างก็ไปเที่ยวนู้นี้ตามประสา แล้วเขาก็บอกว่า “แล้วทำไมผมยังรู้สึกไม่มีความสุข มันขาดอะไรไปเหรอ?”
เช้าวันหนึ่งขณะที่ผมตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีห้า หยิบเสื้อที่เพิ่งได้รับมาเมื่อตอนเย็นใส่ มือกวักน้ำเย็นที่ไหลออกมาจากก็อกน้ำในห้องน้ำเพื่อล้างหน้าให้ร่างกายตื่นตัว มองกระจกเห็นเงาผู้ชายคนหนึ่งในนั้น “มึงบ้ารึเปล่าวะ? จะไปวิ่งทำไม Virtual Run วิ่งคนเดียวไปเรื่อยๆ เวลาดีแค่ไหนก็ไม่มีใครรู้ ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีแรงฮึดจากคนรอบข้าง และที่สำคัญมันไม่มีแม้แต่จุดสตาร์ท…”
ในวันที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คำว่า “SMART Technology” ซึ่งใช้กันแบบเกลื่อนกลาดจนบางครั้งผู้ใช้เองก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมาจากที่ไหน หลายคนก็เข้าใจว่า “smart” ก็คือเทคโนโลยีที่ “ฉลาด” นั้นแหละ ดีกว่าเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้ ในมุมหนึ่งมันก็จริงอยู่ เพียงแต่ว่ามันมีที่มาที่ไปของคำว่า “SMART” ที่ควรเข้าใจก่อนจะใช้มันอย่างกว้างขวาง