ดาริอุส โฟรูซ์นำหลักปรัชญาสโตอิกมาประยุกต์ใช้ในการสร้างความมั่งคั่งและค้นพบว่ามันช่วยให้ชีวิตสงบและมั่งคั่งขึ้น เขาแนะนำสามหลักการ: มุ่งเน้นในสิ่งที่ปรารถนาจริง สร้างรายได้แบบทบต้น และปกป้องเงินต้น ซึ่งรวมเป็น “สามเหลี่ยมความมั่งคั่งแบบสโตอิก” เพื่อความสำเร็จทางการเงินและความสงบสุขทางจิตใจ
‘นิสัย’ เป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก แม้ ‘กิจกรรม’ ที่ทำไม่ได้ก่อให้เกิดความสุข ถ้าเรามีนิสัยในการทำ ‘กิจกรรม’ นั้นแล้ว ไม่ว่ายังไงเราก็จะทำ
‘รีวิวที่แย่จากคนที่แตกต่างจากเรา’ สามารถสร้างความต้องการซื้อเพิ่มได้มากถึง 20% เลยทีเดียว
อาการผิดปกติทางจิตสะท้อนถึงภาวะความบกพร่องทางบุคลิกภาพ บุคคลจะมีความลุ่มหลงตัวเองมากจนเกินไป เชื่อว่าตนเองสำคัญที่สุด สมควรได้รับการปฏิบัติพิเศษ
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 1973 เกิดการยิงกันที่หน้าร้านขายของใจกลางเมืองนิวยอร์กซิตี้ สมาชิกสี่คนของกลุ่มหัวรุนแรงมุสลิมได้เข้าไปในร้าน John’s and Als ซึ่งเป็นร้านขายเครื่องกีฬาในบรูคลิน ภายในร้านมีตัวประกัน 12 คน หมอบอยู่ใต้โต๊ะและตามมุมห้อง โดยมีคนถือปืนยืนเฝ้าเอาไว้ รถตำรวจเคลื่อนที่วนรอบอาคารโดยไม่มีทางให้หลบหนีออกไปได้ โชคร้ายที่ด้านในร้านขายอุปกรณ์กีฬามีส่วนขายปืนและกระสุนอยู่ด้วยเพราะฉะนั้น มือปืนเหล่านี้เรียกว่ามีกระสุนแบบไม่จำกัดก็คงไม่ผิดนัก การยิงปะทะเกิดขึ้นยาวนานกว่า 3 ชั่วโมง หนึ่งในตำรวจที่อยู่ด้านนอกถูกยิงเสียชีวิตและอีกหลายนายบาดเจ็บ ส่วนหนึ่งในมือปืนก็บาดเจ็บสาหัสเช่นกัน สิ่งที่ทำให้ปัญหาเลวร้ายลงไปอีกคือกลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้เป็นชาวอเมริกันผิวสีด้วย ช่วงนั้นประเด็นเรื่องการเหยียดผิวของตำรวจผิวขาวกำลังร้อนแรงและถูกพูดถึงอย่างมาก ซึ่งในเหตุการณ์นั้นตำรวจแทบทุกคนผิวขาวทั้งสิ้น ฮาร์วีย์ โชลสส์เบิร์ก (Harvey Schlossberg) นักสืบที่มีปริญญาเอกด้านจิตวิทยามาถึงที่เกิดเหตุและสั่งให้ตำรวจทุกนายหยุดยิงทันที เขารู้ว่าสถานการณ์มันกำลังเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ขืนฝืนยิงต่อไปมีโอกาสได้เสียหายหนักกว่านี้อย่างแน่นอน เขารู้ว่าวิธีแก้ไขสถานการณ์นี้คือการสื่อสาร ผบ.ตร.เห็นด้วยกับเขา เพราะจากสถิติแล้วการบุกเข้าไปปะทะในสถานการณ์ที่มีตัวประกันนั้นสามารถก่อความเสียหายต่อชีวิตของทั้งตำรวจและตัวประกันอย่างมาก โชลสส์เบิร์กเรียกตำรวจมาประชุมเพื่อหาทางออกสำหรับปัญหาตรงนี้และก็พบว่าผู้สอนศาสนาอิสลามในบริเวณนั้นพอดี ซึ่งเขาเป็นคนเดียวที่สมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงยินดีที่จะให้เดินเข้าไปข้างในตึก ผู้สอนศาสนาเดินเข้าไปอย่างเงียบ ๆ ส่วนตำรวจได้แต่มองอยู่ข้างนอกด้วยความตึงเครียด ประมาณชั่วโมงหนึ่งผ่านไป ชายคนนั้นก็เดินออกมาแล้วบอกกับตำรวจว่าเขาไม่สามารถโน้มน้าวชายเหล่านั้นให้หยุดได้ กลุ่มหัวรุนแรงบอกว่าพร้อมจะตายไปกับความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา การเผชิญหน้าดำเนินต่อไปเป็นคืนที่สองโดยกลุ่มหัวรุนแรงยิงเป็นครั้งคราว ตำรวจยังคงไม่ได้ตอบโต้อะไร ระหว่างนี้โชลสส์เบิร์กยังคงโทยคุยกับสมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงเป็นระยะเพื่อพยายามโน้มน้าวให้พวกเขาวางอาวุธแล้วมอบตัว แม้จะยังไม่ได้ผล แต่ก็ช่วยยื้อเวลาและสร้างความวอกแวกให้กับกลุ่มชายเหล่านั้นได้ และระหว่างที่กำลังคุยกันอยู่ตัวประกัน 9 คนรีบวิ่งหนีออกมาทางประตูหลังแล้วหนีขึ้นไปบนดาดฟ้าซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที นี่ทำให้สถานการณ์ยิ่งกดดันมากขึ้นไปอีกสำหรับกลุ่มหัวรุนแรง เจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มกังวลแล้วว่าชายเหล่านี้จะหมดหนทางและเริ่มยิงตัวประกันที่เหลือ […]
งานศึกษาอีกชิ้นหนึ่งในปี 2021 ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Nonverbal Behavior ที่แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะทางศีลธรรม (อย่างเช่น ความยุติธรรม น่าเชื่อถือ หรือความซื่อสัตย์) มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับหน้าตามากกว่าคุณลักษณะทั่วไป (อย่างเช่น เป็นคนตลก มีระเบียบ หรือใจเย็น)
“Survivorship Bias” หรือ “อคติจากการเห็นผู้อยู่รอด” ซึ่งเป็นความเอนเอียงจากการให้น้ำหนักการตัดสินใจโดยมองแค่ด้านเดียวหรือในที่นี้คือบุคคลที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ได้มองว่าคนที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีมากขนาดไหน
Anne Scherer เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการตลาด ที่ University of Zurich เธอหลงใหลในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และมีโอกาสมาแชร์มุมมองที่น่าสนใจเรื่องความซื่อสัตย์ของการสนทนาของมนุษย์กับเครื่องจักรว่า “ยิ่งความเป็นมนุษย์ในเครื่องจักรมีน้อยเท่าไหร่ คนก็จะเปิดใจพูดคุยกับมันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น” ใน TED Talks ครั้งนี้เธอจึงมาแบ่งปันการสิ่งที่เธอค้นพบ โดยเผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ที่อาจนำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์ต่อกันมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา