การคิดแบบใยแมงมุมจะเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของคุณได้ยังไง?
เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าการคิดอย่างเป็นระบบเป็นการคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุด หมูไปไก่มา เติมน้ำมันก่อนรถก็จะเดินได้ คือแนวคิดที่เราคิดในการทำธุรกิจอย่างง่าย และเมื่อเราคิดอย่างเป็นเส้นตรงอย่างนั้นแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ “ความยุ่งเหยิงและความวุ่นวาย”
เพราะไม่มีคำว่า “ความเรียบง่าย” ในโลกธุรกิจ
การคิดแบบเส้นตรงกับการคิดเชิงระบบ
การรับลูกค้าใหม่และหารายได้มากขึ้นเป็นขั้นตอนที่ดีที่สุดดูจะเป็นวิธีในการช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ แต่มันไม่ง่ายเหมือน A ไป B ลูกค้าใหม่อาจทำให้เกิดกระแสในธุรกิจของคุณ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่ากำไรงามและขาดทุน เมื่อคุณมุ่งเน้นไปที่การหาลูกค้าใหม่และรายได้ที่พวกเขานำมาโดยไม่ได้คำนึงถึงการสร้างท่อต่อธุรกิจของคุณ สเต็ปต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกค้ารายนั้นออกไป?
การตระหนักรู้ว่าทุกอย่างเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้เข้าใจว่าการตัดสินใจของลูกค้าคนหนึ่งสามารถส่งต่อธุรกิจทั้งระบบได้โดยที่การคิดอย่างเป็นระบบจะทำให้เข้าใจได้ว่า A ส่งผลต่อ B อย่างไร B ส่งผลต่อ A และ C ส่งผลต่อ B
หนทางที่ง่ายที่สุดในการเข้าใจก็คือการมองภาพเครือข่ายธุรกิจให้เป็นรูปใยแมงมุมไม่ใช่การมองแบบเส้น เหตุเพราะการคิดเชิงระบบทำงานเหมือนใยแมงมุม ทุกสิ่งล้วนเป็นเหตุและผล หากคุณสามารถนำการคิดอย่างเป็นระบบมาใช้แทนการคิดแบบเส้นตรง คุณก็จะสามารถทำงานได้สบายมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของการขาดแคลน
การคิดแบบเป็นเส้นตรงผิดยังไง
การคิดแบบเป็นเส้นตรงทำให้คุณเสี่ยงที่จะเจอ “จุดบอด” เพราะคุณไม่อาจมองเห็นสเต็ปที่กว้างกว่าก้าวต่อไปได้ การคิดแบบเป็นเส้นตรงนอกจากจะทำให้ไม่ได้คิดถึงผลที่อาจตามมา ก็อาจทำให้คาดการณ์ผลกระทบที่ส่งผลต่อองค์ประกอบอื่นๆในธุรกิจผิดพลาดไป
มาสรุปตัวอย่างกัน สมมติว่าเราเพิ่งได้ลูกค้ามาใหม่ เรามองว่าเราต้องการเงินเดือนก้อนนั้น เราก็เลยตอบตกลงกับคนแรกที่เข้ามาหาติดต่อ เราอาจทำโครงงานประเภทที่ไม่เคยทำมาก่อน ทำให้ต้องทุ่มเทพลังงานกายและใจไปกับการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อบริการลูกค้ารายนั้นโดยเฉพาะ
ดังนั้น เราจึงทำงานทุกชั่วโมง โดยที่ไม่สามารถใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ละเลยกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพของตัวเอง ทั้งหมดเพื่อเงินเดือนนั้น ทั้งหมดสำหรับรายได้เพียงทางเดียว
และตรงนั้นก็เป็นจุดที่ทำให้ความคาดแคลนพุ่งชน เราทำงานหลายชั่วโมงเพื่อตอบรับลูกค้าเพียงเจ้าเดียวโดยที่เราไม่มีโอกาสได้หาลูกค้าคนใหม่ เมื่องานนั้นจบลง เราก็จะไม่มีอะไรใหม่ๆให้ทำและไม่มีทำต่อ
นี่จึงเป็นใจความสำคัญของปัญหาการคิดเป็นเส้นตรง คุณหมกมุ่นอยู่กับการหารายได้ B จาก A จนคุณลืมวางแผนขั้นตอนอื่น
แง่ลบอีกอย่างของการคิดเชิงเส้นคือความซับซ้อนที่ตามมา หากเราโฟกัสอยู่ที่ลูกค้ารายเดียวเท่านั้น คุณอาจพบว่าคุณต้องจ้างคนมาช่วยทำงานที่เกินกว่าทักษะที่คุณมี ตอนนั้นคุณก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินให้ฟรีแลนซ์เพื่อช่วยงานคุณ หรือไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องซื้อโปรแกรมตัวใหม่เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ซึ่งนั้นเป็นเป็นอีกครั้งที่คุณจ่ายเงินออกไป ซึ่งทั้งนั้นเป็นเพราะคุณต้องการ “เงินเดือน”
การคิดอย่างเป็นระบบมีดีอย่างไร?
การคิดอย่างเป็นระบบช่วยให้คุณเห็นธุรกิจทั้งหมด ทำให้เห็นว่าชิ้นส่วนของธุรกิจของคุณทำงานร่วมกันเป็นดั่งฟันเฟืองประดุจดั่ง “เครื่องจักรธุรกิจ” ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะสามารถจัดการธุรกิจและงานสำหรับคุณ แทนที่จะเป็นงานของคุณเพื่อธุรกิจ
ด้วยการคิดแบบเส้นตรง คุณจะกลายเป็นที่เชื่อมโยงทุกอย่างในธุรกิจของคุณ ซึ่งหมายความว่าคุณต้องทำการสื่อสารเพิ่มเติมทั้งหมดและจัดการกับปัญหา แต่ถ้าคุณออกแบบระบบ ถ้าคุณออกแบบเครื่องจักรสำหรับธุรกิจนั้น คุณก็จะไม่ต้องทำงานหนักเกินไปอีกต่อไป เพราะคุณไม่ใช่สายใยที่เชื่อมโยงทุกแง่มุมของธุรกิจของคุณอีกต่อไป
วิธีการนำการคิดอย่างเป็นระบบมาใช้
ทั้งหมดนี้อาจฟังดูเป็นนามธรรม ดังนั้นหากเรามาใส่ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในการคิดอย่างเป็นระบบ
อันดับแรก ให้นึกถึงบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ บางทีพวกเขาอาจเป็นฟรีแลนซ์ของคุณ บางทีพวกเขาอาจเป็นลูกค้าของคุณ พนักงานของคุณ ผู้มีอิทธิพลหลัก แม้แต่คนที่เป็นบุคคลอ้างอิงของคุณ จากนั้นก็ลองคิดไปยังสิ่งอื่น เช่น ซอฟต์แวร์ ระบบที่คุณมี และกระบวนการของคุณ สิ่งเหล่านี้เป็นดั่งตัวเชื่อมในธุรกิจของคุณ
เมื่อคุณระบุส่วนต่างๆ ของธุรกิจของคุณแล้ว ให้ค้นหาว่าส่วนต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างไร
บางครั้งคุณอาจค้นพบว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้เชื่อมโยงกันเลยสักนิด นั่นคือผลจากการธุรกิจที่มาจากการคิดเป็นเส้นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นจุดที่คุณในฐานะผู้ประกอบการเป็นจุดเชื่อมโยง เส้นเดียว โดยคุณเป็นศูนย์กลางของศูนย์กลาง คุณเป็นคนเดียวที่สื่อสารระหว่างชิ้นส่วนที่ไม่ได้เชื่อมต่อที่ทำงานแยกจากกัน
แทนที่คุณจะได้ทำงานที่เป็นจุดแข็งของคุณ คุณกลับใช้เวลามากมายในการเติมทุกอย่าง อย่างการสื่อสาร(ซึ่งบางครั้งมันก็ผิดพลาดไป) และการทำงานระหว่างช่องว่าง ทั้งที่คุณก็ตระหนักได้ว่าคุณขาดคนสำคัญในการทำงานนั้น เมื่อคุณเห็นชิ้นส่วนที่ถูกตัดการเชื่อมต่อทั้งหมดแล้ว ให้กำจัดชิ้นส่วนที่คุณไม่ต้องการ ลองสร้างมาตรฐานให้มากที่สุดเพื่อให้เครื่องจักรธุรกิจของคุณยังคงดำเนินการต่อ ทั้งนี้ไม่สำคัญว่าคุณมีลูกค้าหนึ่งรายหรือ 10 ราย ลูกค้าทุกคนควรได้รับการมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คุณสามารถใช้องค์ประกอบเดียวกันกับลูกค้าแต่ละคนได้
สิ่งเดียวที่ต้องจัดการหลังจากการตั้งมาตรฐานคือการกลับไปโฟกัสที่จุดแข็งของคุณ เป้าหมายตรงนี้ก็คือเพื่อกำจัดการทำงานที่มีคุณเป็นสายที่เชื่อมต่อทุกอย่าง ธุรกิจของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณเพียงผู้เดียว
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องจักรธุรกิจ” ไม่ต้องเติมช่องว่าง ไม่ต้องแก้ไขปัญหา ไม่ต้องพบกับการขาดแคลน(famines)
ที่มา : https://entrepreneurshandbook.co/how-the-cobweb-effect-can-transform-your-business-69306302d31b