วิธีสังเกต – และลด – ความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ
มนุษย์มีเรื่องต้องเลือกนับหมื่นตัวเลือกในแต่ละวัน ในฐานะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ การตัดสินใจในแต่ละครั้งสามารถสร้างหรือทำลายสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ เช่น การว่าจ้าง การเปลี่ยนทีม กลยุทธ์การเติบโต การระดมทุน และอื่นๆ ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ McKinsey ในปี 2019 ชี้ให้เห็นว่ามีองค์กรเพียง 20% เท่านั้นที่รู้สึกว่า ตนเก่งในการตัดสินใจ
มันมีสิ่งที่เรียกว่า “ความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ (decision fatigue)” และเมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจคุณภาพและประสิทธิภาพในการตัดสินใจนั้นจะลดลง Charlie Gilkey โค้ชผู้บริหารและผู้ก่อตั้งแหล่งข้อมูล และให้คำแนะนำทางธุรกิจ Productive Flourishing ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสังเกตและการจัดการมันไว้ ดังนี้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังประสบกับความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ?
‘หนึ่งในทักษะเฉพาะที่เหล่า founder มีคือการคิดเชิงระบบแบบเป็นธรรมชาติ พวกเขาจะเห็นว่าทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และนั่นคือสิ่งที่พวกเขาติดอยู่กับการตัดสินใจที่ชวนให้เหนื่อยล้า พวกเขาใช้อีเมลหรือการประชุมครั้งเดียวก็จะมีผลกระทบกระเพื่อมไปทั้งระบบ’ Charlie Gilkey กล่าว ตรงนี้จะทำให้ เราเริ่มคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ และคุณจะติดกับเพราะคุณไม่สามารถแยกการตัดสินใจหนึ่งออกจากระบบของการตัดสินใจอื่น ๆ
ความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจแสดงออก มาในรูปแบบความรู้สึกวิตกกังวลและคิดอะไรไม่ออก คุณอาจเริ่มการสนทนาที่เฉพาะเจาะจงและสรุปประเด็นทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว บางคนก็หุนหันพลันแล่น จนในที่สุดก็ตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพราะต้องการไปต่อ ทำให้คนอื่นๆ รู้สึกมึนงง และเมื่อทางเลือกทางธุรกิจดำเนินไปเป็นเวลาหลายเดือน พวกเขาก็อาจจะไม่รู้สึกถึงความสำเร็จหลังจากเลือก
เคล็ดลับสำคัญ 5 ประการของ Charlie Gilkey ในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้
1. ทำใจยอมรับความจริงว่าตัวเองเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในสิ่งที่สำคัญ หลายครั้งที่เหล่าผู้นำไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้เพียงพอ
2. แยกความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจหลัก (prime decision-maker) และผู้มีอำนาจตัดสินใจเพียงคนเดียว(only decision-maker) ให้ความรู้และให้อำนาจทีมของคุณในการตัดสินใจ และไว้วางใจพวกเขาเมื่อพวกเขาทำ
3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจขนาดเล็กของคุณมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน(clear vision) เพราะหลักการและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างดีจะเป็นส่วนที่ดีในการอ้างอิงสิ่งที่คุณตัดสินใจเลือก
4. ตัดสินใจเรื่องเล็ก ๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจัดตารางเวลา เพื่อจะได้มีเวลาคิดให้ถี่ถ้วนเกี่ยวกับเรื่องใหญ่ ๆ
5. เข้าใจในข้อจำกัด เช่น เวลา เงิน หรือช่วงสั้นๆ ที่คุณสามารถปล่อยวางได้ คุณอาจไม่ถูกจำกัดเพียงพอที่จะตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและรวดเร็ว