Free Delivery คำสัญญาที่ไม่มีทางเป็นจริง
‘บริการจัดส่งฟรี’ ที่ผ่านมาหมกเม็ดค่าแรงงานของมนุษย์ ทำให้ผู้บริโภคคาดหวังบริการฟรี ทั้งที่บริการส่ง “ไม่เคยฟรีจริงๆ”
ถ้าการไปร้านขายของแล้วต้องเสียเงินพอ ๆ กับสั่งของมาจากร้าน ทำไมเราต้องไปที่ร้านอีก? บริการส่งของเพิ่มความสะดวกสบายนี้กลายเป็นที่ “ต้องการ” มากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เพราะผู้คนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัส และพบเจอกับคนจำนวนมาก แม้ว่าการแพร่ระบาดจะยังไม่สิ้นสุดลง แต่ระยะเวลาของการส่ง ‘ฟรี’ น่าจะกำลังจะจบลงแล้ว
ในวันที่ 25 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ Amazon จะคิดค่าธรรมเนียมการจัดส่ง 9.95 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจัดส่งจากซุปเปอร์มาเก็ต Whole Foods ทั่วประเทศ
ในช่วงการระบาดของไวรัส การจัดส่ง Whole Foods มีเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ระหว่างปี 2019 ถึง 2020 ตามรายงานของ Washington Post ในขณะที่บริษัทมีความหวังที่จะเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ต้นทุนก็กลับเพิ่มขึ้นแทน ราคาที่ผกผันคาดเดาไม่ได้ และความพร้อมของผลิตภัณฑ์เป็นระยะ ๆ เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานที่สะดุด ทำให้การจัดส่งมีราคาแพงขึ้นสำหรับ Amazon และ Whole Foods
ในอดีต Amazon ยินดีที่จะรองรับค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอง แต่ “การเติบโตของการ Delivery ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และทางเราไม่ต้องการจะไปเพิ่มราคาของสินค้า” Stephanie Ferragut โฆษกหญิงของ Whole Foods เขียนในแถลงการณ์ ในอีเมลที่ส่งถึง MarketWatch และโฆษกของ Amazon เขียนว่า “Whole Foods ไม่ได้ขึ้นราคาสินค้า โดยเราตั้งราคาที่สม่ำเสมอสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งในร้านค้าและทางออนไลน์”
ประเด็นคือ การจัดส่งของชำไม่ควรฟรีตั้งแต่แรก หรืออย่างน้อยที่สุด ก็คือผู้บริโภคไม่ควรคิดว่าพวกเขามีสิทธิ์ซื้อของแล้วให้มาหย่อนที่หน้าประตูบ้าน ในขณะที่คนงาน Delivery ต้องเผชิญกับแรงกดดันในการตอบสนองความต้องการ และเสี่ยงชีวิตเพื่อแลกกับการคุ้มครองเพียงเล็กน้อยและค่าแรงต่ำ ๆ แรงงานต้องเสียเงิน และให้บริการจัดส่งฟรีที่ดึงดูดใจลูกค้า พวกเขามองข้ามสภาพการทำงานที่คนขับต้องห้อยถุงไข่และผลผลิตต่าง ๆ ซิ่งรถเพื่อไปส่งสินค้าให้ถึงมือผู้ซื้อภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง (หรือน้อยกว่านั้น) ตามการสั่งซื้อ
แม้ว่าค่าธรรมเนียมการจัดส่งที่กำลังจะมีนี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจที่สำคัญว่าการส่งสินค้า “ฟรี” มักมีค่าใช้จ่าย และมนุษย์ที่ทำการจัดส่งจริง ๆ จะไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น Jeff Bezos ผู้ซึ่งร่ำรวยและมีทรัพย์สิน มูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่า 70 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 นั้นเป็นผลมาจากการพึ่งพา Delivery ที่เพิ่มขึ้น และจะยังคงสร้างรายได้เท่าเดิม แต่ที่สำคัญกว่านั้น การจัดส่งฟรีถือเป็นกลยุทธ์ที่แปลกที่ Amazon ใช้ในการผูกขาดในทุกพื้นที่ที่ขายสินค้า
ในพาดหัวข่าวฉบับหนึ่งที่ทำข่าวเรื่องการผูกขาด โดย Matt Stoller เรียก Amazon Prime ว่า “an economy-distorting lie” เขาอธิบายว่าวิธีที่ Amazon บิดเบือนและควบคุมราคาในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเขียนว่า “เป้าหมายคือการทำให้ผู้คนคุ้นเคยกับการซื้อจาก Amazon โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าขนส่งจาก Amazon และเมื่อพวกเขาควบคุมกลุ่มลูกค้าค้าปลีกออนไลน์จำนวนมากได้แล้ว พวกเขาก็จะเริ่มกำหนดเงื่อนไขต่อผู้ขายที่จำเป็นต้องใช้ช่องทาง Amazon ในการเข้าถึงลูกค้าของพวกเขา… Prime เป็นเพียงการแสดงผาดโผนด้านการประชาสัมพันธ์และการโกหกครั้งใหญ่ของ Amazon เพื่อปกปิดราคาที่แท้จริง ที่ถูกปรับให้สูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และหากผู้คนเข้าใจสิ่งนี้ก็จะทำลายความน่าเชื่อถือของ Amazon”
การ Delivery ไม่มีอะไรผิดปกติ มันสะดวกและช่วยให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้ สำหรับผู้ที่มาซื้อของที่ร้านไม่ได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่แนวคิดเรื่องการจัดส่งฟรีเป็นเพียงการปิดบังค่าใช้จ่ายของมนุษย์สำหรับบริการดังกล่าว และในช่วงการแพร่ระบาด คนงานต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมดโดยได้รับเพียงค่าแรงขั้นต่ำ
แม้ว่าค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนี้จะไม่เปลี่ยนชีวิตในแต่ละวันของคนงาน อันที่จริง Amazon ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของคนงานเป็นหลัก และราคาที่เพิ่มขึ้นนี้ ไม่ได้มีการระบุถึงคนงาน มันเป็นเพียงการยืนยันว่าค่าส่งจะถูกผลักไปให้ผู้บริโภคที่ต้องการเข้าถึงบริการ บางทีการผลักภาระให้ผู้บริโภคนี้ อาจจะทำให้พวกเขาเข้าใจถึงความจริงที่ว่าเมื่อพูดถึงการใช้แรงงานแล้ว มันไม่มีอะไรฟรี!
ที่มา : https://www.eater.com/22700476/whole-foods-amazon-stops-free-grocery-delivery?mc_cid=ae6efd647a&mc_eid=956d117e8c