Guy Winch : วิธีหยุดคิดเรื่องงานในเวลาว่าง
กาย วินช์ (Guy Winch) นักจิตวิทยา นักพูดและนักเขียน เขาออกหนังสือชื่อ “How to Fix A Broken Heart : สูญเสียแค่ไหน ก็ไม่เสียศูนย์” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากเล่มหนึ่งเลยทีเดียว
ในการพูดบนเวที Ted Talks วินช์กล่าวว่า เขาอยากเป็นนักจิตวิทยาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น เขาเริ่มเปิดคลินิกของตัวเองตั้งแต่เริ่มได้ใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งในช่วงต้นของอาชีพของเขา มันมีช่วงเวลาหนึ่งที่เขารู้สึกสับสนในตัวเองว่าตอนนี้เขาได้มีชีวิตตามความฝันแล้ว แต่ทำไมเขาไม่มีความสุขล่ะ? ทำไมเขาถึงรู้สึกหมดไฟและเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
วินช์ถามว่าตัวเองว่าเขาทำผิดพลาดรึเปล่า หรือว่าเขาเลือกอาชีพผิด? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับอาชีพที่ผิด เขารู้ว่าเขายังรักจิตวิทยา ปัญหาไม่ได้อยู่ที่งานที่เขาทำในสำนักงานเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่มันอยู่ที่หลังจากเขาปิดประตูสำนักงานแล้ว แต่ประตูในหัวของเขายังคงเปิดค้างอยู่และความเครียดก็ท่วมท้นเข้ามาโดยไม่พยายามควบคุมมันเลย
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเครียดจากการทำงานก็คือ เราไม่ค่อยได้สัมผัสกับมันมากนักในที่ทำงาน เพราะพวกเรายุ่งเกินไป เราประสบกับสิ่งนี้นอกเวลาทำงาน เมื่อเรากำลังเดินทาง เมื่อเรากลับบ้าน เมื่อเรากำลังพยายามทำให้กระปรี้กระเปร่า
สิ่งสำคัญคือเราต้องพักในเวลาว่าง คลายเครียดและทำสิ่งที่เราสนุก แต่อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่เราเผชิญในเรื่องนั้นคือการครุ่นคิด เพราะทุกครั้งที่เราทำ เรากำลังกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดของเรา
วินช์บอกว่าสิ่งที่เราคิดอยู่คือการ ruminate (เคี้ยวเอื้อง) พฤติกรรมนี้เป็นสิ่งที่วัวทำเพื่อย่อยอาหาร วัวมีความสุขโดยการที่ “เคี้ยวแล้วกลืน สำรอกกลับขึ้นมาเคี้ยวใหม่อีกครั้ง” แน่นอนว่าการเคี้ยวเอื้องไม่ใช่พฤติกรรมของมนุษย์ แต่สิ่งที่เราทำอยู่คือการครุ่นคิด และเราคิดให้ทุกข์ คิดในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับงานที่เราไม่ได้ทำ เครียดกับเพื่อนร่วมงาน หรือกังวลใจกับอนาคต
มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับงาน ระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน งานวิจัยนี้บอกว่าเราครุ่นคิดเรื่องงาน ทบทวนความคิดเดิมๆ และความกังวลซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งมันขัดขวางความสามารถของเราในการฟื้นฟูและเติมพลังในช่วงนอกเวลาทำงานเป็นอย่างมาก ยิ่งเราครุ่นคิดเรื่องงานเมื่ออยู่ที่บ้าน ยิ่งมีแนวโน้มว่าเราจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และอารมณ์ไม่ดี มันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและทำให้การทำงานบกพร่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นชุดทักษะที่จำเป็นในการทำงานของเรา ไม่ต้องพูดถึงการสูญเสียความสัมพันธ์ในชีวิต เพราะผู้คนรอบตัวเราสามารถรับรู้ได้ว่าเรากำลังครุ่นคิดอะไรบางอย่างในหัวอยู่ ระหว่างการครุ่นคิดมันจะทำให้เรารู้สึกเหมือนกำลังทำอะไรที่สำคัญอยู่ ทั้ง ๆ ที่เรากำลังทำสิ่งที่เป็นอันตรายมากกว่าทำสิ่งที่สำคัญ
วินช์เล่าว่าในขณะที่เขาหมดไฟ เขาตัดสินใจที่จะจดบันทึกเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยบันทึกว่าเขาใช้เวลาครุ่นคิดมากแค่ไหน โดยรวม ๆ แล้วสัปดาห์นั้นเขาใช้เวลาครุ่นคิดเกือบ 14 ชั่วโมง (ตลอดการเดินทางไปกลับที่ทำงาน ก่อนนอน ระหว่างมื้ออาหาร ระหว่างดูโชว์) นั่นเท่ากับว่า การเลิกงานของเขานั้นหมดกับไปกับบางอย่างที่เพิ่มความเครียดให้กับตัวเองมากกว่า
นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขารู้ว่าเขายังรักงานของเขา แต่การครุ่นคิดกำลังทำลายความรักนั้นและทำลายชีวิตส่วนตัวของเขาไปด้วย ดังนั้นเขาจึงอ่านทุกการศึกษาที่หาได้ และก็ต่อสู้กับความคิดของตัวเองไปด้วย วินช์เล่าว่า การเปลี่ยนนิสัยชอบครุ่นคิดเป็นเรื่องยาก และต้องใช้ความพยายามอย่างแท้จริงเลย
โดยวิธีแรกที่เขาแนะนำให้เราทำก็คือ คุณต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน คุณต้องกำหนดว่าเมื่อไหร่ที่คุณหยุดทำงานก็คือหยุดทำงาน และคุณต้องเข้มงวดกับมัน กฎที่วินช์ทำกับตัวเองในตอนนั้นคือ เมื่อเขาทำงานเสร็จตอน 20.00 น. เขาก็จะบังคับตัวเองให้หยุดทำงาน ซึ่งในสมัยยุค 90s เรายังไม่มีสมาร์ทโฟน แต่เมื่อปี 2007 สมาร์ทโฟนเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน คุณสามารถที่จะตอบอีเมล์ที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้ และทุกครั้งที่เราดูโทรศัพท์หลังเลิกงาน เราอาจถูกเตือนถึงงานและความคิดที่ครุ่นคิดก็อาจหลุดลอยไปในตอนเย็นหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ของเรา
ดังนั้น ถ้าคุณเลิกงานให้คุณปิดการแจ้งเตือนซะ และถ้าคุณจำเป็นต้องตรวจงาน ก็ต้องตัดสินใจว่าจะทำเมื่อใด เพื่อไม่ให้รบกวนแผนพักผ่อนของคุณ และทำแค่ตอนนั้นเท่านั้น
วินช์เล่าว่าในปัจจุบันการเราสื่อสารกันผ่านเครื่องมือเพิ่มขึ้น 115% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต มันทำให้มนุษย์เราสูญเสียขอบเขตทางกายภาพ (physical boundary) ระหว่างที่ทำงานและที่บ้าน และเมื่อเราไม่มีขอบเขตทางกายภาพระหว่างที่ทำงานและที่บ้าน เราก็ต้องสร้างขอบเขตทางจิตวิทยา เราต้องหลอกความคิดของเราในการกำหนดงาน เวลาและพื้นที่ที่จะไม่ใช้คิดเรื่องงาน เช่น บนเตียงหรือโซฟา
ต่อมา เมื่อคุณ Work from home ให้คุณสวมเสื้อผ้าที่คุณใส่เฉพาะเวลาทำงานเท่านั้น จากนั้นเมื่อสิ้นสุดวัน เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ดนตรีและแสงไฟเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากที่ทำงานเป็นบ้าน ทำมันให้เป็นขั้นตอนชัดเจน หลายคนอาจคิดว่ามันงี่เง่า แต่การเปลี่ยนเสื้อผ้าและแสงจะทำให้ใจไม่ได้จดจ่ออยู่กับการทำงาน จิตใจของคุณจะตกหลุมพลางนี้
ถึงตอนนั้นสิ่งเหล่านี้จะช่วยเราได้ แต่การครุ่นคิดอาจจะยังคงบุกเข้ามา และเมื่อเป็นเช่นนั้น คุณต้องแปลงการครุ่นคิดเหล่านั้นให้เป็นรูปแบบการคิดที่มีประโยชน์ เช่น การแก้ปัญหา
คนไข้ของคนหนึ่งของเขาเป็นตัวอย่างที่ดี แซลลี่ได้เลื่อนตำแหน่งมาตลอดชีวิต แต่มันมาพร้อมกับการที่เธอไม่สามารถไปรับลูกสาวจากโรงเรียนในทุกวันได้อีกต่อไป และนั่นทำให้หัวใจของเธอแตกสลาย เธอจึงคิดแผน ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี แซลลีจะออกจากงานแต่เช้า เพื่อรับลูกสาวที่โรงเรียน เล่นกับเธอ ป้อนอาหาร อาบน้ำ และพาเธอเข้านอน จากนั้นเธอก็จะกลับไปที่สำนักงาน และทำงานเกินเที่ยงคืนเพื่อตามงานให้ทัน มีเพียงบันทึกประจำวันของ Sally เท่านั้นที่ระบุว่าเธอใช้เวลาเกือบทุกนาทีกับลูกสาวของเธอ แต่ครุ่นคิดเกี่ยวกับงานที่เธอต้องทำ
ในการเปลี่ยนความคิดที่ครุ่นคิดให้กลายเป็นความคิดที่มีประสิทธิผล คุณต้องวางมันเป็นปัญหาที่จะแก้ไข เช่น “ฉันมีงานต้องทำอีกมาก” เป็นคำถามเกี่ยวกับการจัดตารางเวลา เช่น “ฉันจะจัดการงานนี้ตอนไหนในตารางเวลาของฉัน” หรือ “ฉันจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับเรื่องเร่งด่วนกว่านี้”
โดยสรุปแล้ววินช์บอกเราว่าการต่อสู้กับการครุ่นคิดของเรานั้นยาก แต่ถ้าเรายึดกับขอบเขตโดยกำหนดเขตระหว่างที่ทำงานและที่บ้าน ฝึกคิดจัดการงานให้มีประสิทธิภาพ คุณจะเอาชนะการครุ่นคิดที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ มันไม่มี Ground zero สำหรับการสร้างสมดุลระหว่าง work life balance ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างมันอยู่ในหัวของเรา มันอยู่กับการครุ่นคิดของเรา
หากคุณต้องการลดความเครียดและปรับปรุงคุณภาพชีวิต คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเวลาทำงานหรือเปลี่ยนงานของคุณ คุณเพียงแค่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดของคุณให้ดีขึ้น
ที่มา : https://www.ted.com/talks/guy_winch_how_to_turn_off_work_thoughts_during_your_free_time