งานขาย ไม่ใช่ งานขอ – นักขายที่ดีมีแนวคิดที่แตกต่างยังไง
พอพูดถึง ‘การขายของ’ หลายคนบึนปากทันทีว่ามันเป็นงานที่ไม่อยากมีคนทำ มันเป็นงานที่ยากลำบาก ต้องคอยไปง้อให้ลูกค้ามาซื้อของ หลายคนถึงขั้นบอกเลยว่าถ้าให้ขายของจะไม่อยากทำเด็ดขาดเพราะรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่มีเกียรติ ถึงขั้นเรียกว่าไปขอเขากินเลยก็ว่าได้ และที่จริงเป็นความคิดที่ผิดอย่างใหญ่หลวงเลยก็ว่าได้
จังหวะที่ Steve Jobs ดึง MacBook Air ออกมาจากซองจดหมายสีน้ำตาล ถามว่าเขาขายของไหม? ขายครับ…แต่ทำไมมันถึงดูงดงามและน่าดึงดูดหล่ะ?
Warren Buffett บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลกก็เติบโตมาจากงานขายเหมือนกัน ทุกปีเขาจะนำเสนอผลประกอบการของบริษัทต่างๆ เอาเหตุผลมาวางให้ผู้ถือหุ้นฟัง แล้วก็ขายต่อว่าปีหน้าจะทำอะไร ถามว่าเขาขายของไหม? เขาก็ขาย…แต่ทำไมมันถึงดูมีเกียรติ?
ลองดูใกล้ตัวเข้ามาอีกก็ได้ครับ คุณหมอที่คลีนิคหน้าหมู่บ้าน เราปวดหัวไปหาเขา คุณหมอถามว่าเป็นอะไรมา? มีปัญหาอะไร? ก่อนหน้านี้ไปเจออะไรมา? ถามถึงปัญหาของเรา แล้วเราก็เล่าให้เขาฟัง คุณหมอฟังแล้วก็วินิจฉัย จ่ายยา คิดเงิน…หมอขายของไหม? ขายครับ ไม่งั้นคลีนิคก็อยู่ไม่ได้ แล้วมันต่างจากที่เราขายยังไงหล่ะ?
มันแตกต่างกันตรงนี้ครับว่า นักขายส่วนใหญ่จะทำตัวเป็นนักขอ ลองฟังบทสนทนานี้ดู
กับ
ทั้งสองประโยคขายสินค้าที่เหมือนกัน แต่นำเสนอต่างกัน คนหนึ่งนำเสนอฟีเจอร์ อีกคนหนึ่งนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ลูกค้ากำลังประสบอยู่
การขายที่ดีที่สุดคือการหยิบยื่นวิธีแก้ปัญหาให้กับลูกค้า หยิบยื่นสิ่งที่ดีๆทำให้ชีวิตของเขาดีมากขึ้น Steve Jobs ขาย MacBook Air เพื่อแก้ปัญหาว่าแลปท็อปมันหนักและพกพาไม่สะดวก Warren Buffett ขายกองทุนของเขาเพื่อแก้ปัญหาที่นักลงทุนไม่รู้ว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหนดี คุณหมอหน้าปากซอยแก้ปัญหาปวดหัวให้กับเรา
นักขายที่ดีไม่ใช่นักขอ แต่เป็นนักแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นกรอบความคิดของเราต้องเปลี่ยนก่อน เราต้องเชื่อว่าสินค้าของเราจะสามารถไปช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริงๆ ไม่ใช่แค่ขายๆไปอย่างเดียว ไม่ใช่เพียงแค่บอกว่าสินค้าเราก็เหมือนที่อื่นแหละ จะขายได้ก็ต้องใส่โปรโมชั่นไปเยอะๆ โปรโมชั่นเป็นเพียงกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการขาย
ลูกค้าไม่ได้สนใจสินค้าของเราหรอก เขาสนใจแค่ปัญหาของตัวเองว่าจะถูกแก้ไขได้ไหมถ้าซื้อสินค้าของเราไป พูดให้ตรงๆก็คือ ถ้าลูกค้าไม่มีปัญหา เขาก็ไม่มาซื้อสินค้าของคุณหรอก
หลายคนอาจจะบอกว่า “อ้าว…สินค้าอย่างเพชรพลอย สินค้าแบรนด์เนม เครื่องประดับหรูๆ หรือรถยนต์แพงๆ ไปแก้ปัญหาตรงไหน?”
คนเหล่านี้ที่จริงปัญหาของเขาก็คือเขาอยากได้อะไรบางอย่างที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วของตัวเอง (iPhone ก็เริ่มเข้าข่ายนี้) เขาคือคนที่ประสบความสำเร็จแล้วถึงได้ใช้สินค้าเหล่านี้
หาสินค้าที่คุณสามารถขายได้อย่างภูมิใจ ปรับเปลี่ยนแนวคิดว่าคุณคือนักขาย ไม่ใช่นักขอ แล้วการปิดการขายของคุณจะไม่เหมือนกับไปง้อหรือขอลูกค้าอีกต่อไป แต่คุณจะรู้สึกว่าคุณได้ช่วยเขาแก้ปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่