Julia Galef : ทำไมคุณถึงคิดว่าคุณถูก แม้ว่าคุณจะรู้ว่ามันผิด
มุมมองคือทุกสิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องพิจารณาความเชื่อของคุณ คุณเป็นทหารที่มักจะปกป้องมุมมองของคุณในทุกวิถีทาง หรือจะเป็นหน่วยสอดแนมที่ถูกกระตุ้นด้วยความอยากรู้อยากเห็นกันแน่? จูเลีย กาเลฟ (Julia Galef) ตรวจสอบแรงจูงใจเบื้องหลังความคิดทั้งสองนี้ และวิธีที่มันกำหนดวิธีที่เราตีความข้อมูล ผสมผสานกับบทเรียนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจจากฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 เมื่อความคิดเห็นที่แน่วแน่ของคุณได้รับการทดสอบ กาเลฟถามว่า
“คุณปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด ปรารถนาที่จะปกป้องความเชื่อของตัวเองหรือคุณใฝ่ฝันที่จะเห็นโลกให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้”
กาเลฟเริ่มต้นด้วยการให้ลองจินตนาการ ว่าคุณเป็นทหารท่ามกลางสมรภูมิรบ เธอบอกว่าไม่ว่าเราจะจินตนาการการเป็นทหารอยู่ในยุคไหนหรือสถานที่ใดก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอก็คือ ระดับอะดรีนาลีนจะเพิ่มสูงขึ้น และการกระทำต่าง ๆ ของคุณจะเกิดขึ้น จากปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ฝังลึกอยู่ภายใน ความต้องการที่จะปกป้องตัวเองและพวกพ้องของคุณ และความต้องการที่จะเอาชนะศัตรู
ต่อมากาเลฟชวนให้คิดถึงการทหารพรานที่เป็นหน่วยสอดแนม หน้าที่ของทหารพรานนั้นไม่ใช่โจมตีหรือปกป้อง หน้าที่ของทหารพรานคือการทำความเข้าใจ ทหารพรานคือผู้ที่ออกไป ทำแผนที่ภูมิประเทศ ระบุสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรค และทหารพรานก็อาจหวังที่จะได้เจอสะพาน ที่อยู่ในตำแหน่งที่สะดวก ต่อการข้ามแม่น้ำ เป็นต้น
ในกองทัพจริง ๆ ทั้งทหารและทหารพราน นั้นต่างมีความสำคัญ แต่คุณอาจมองว่าแต่ละบทบาท เป็นเหมือนกับกรอบความคิด ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยว่าเราทุกคนนั้น ประมวลผลข้อมูลและแนวคิดต่าง ๆ อย่างไร ในชีวิตประจำวันของเรา
กาเลฟเล่าย้อนย้อนกลับไปยังฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 19 ที่ที่แผ่นกระดาษที่ดูไร้พิษภัย แผ่นหนึ่งสร้างเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง ที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ มันถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1894 ตอนแรกมันถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ อยู่ในถังทิ้งเศษกระดาษ แต่เมื่อพวกเขานำพวกมันกลับมาต่อกันใหม่ พวกเขาพบว่าใครบางคน ที่มีตำแหน่งเดียวกับพวกเขา ได้ขายความลับทางการทหารให้กับเยอรมนี
ผู้ต้องสงสัยคือ อาลแฟรด แดรฟุส (Alfred Dreyfus) เขามีประวัติที่ดี เขาไม่เคยทำผิดมาก่อน ไม่มีแรงจูงใจใด ๆ เท่าที่พวกเขาทราบ แต่แดรฟุสเป็นนายทหารเชื้อสายยิว เพียงคนเดียวของกองทัพในชั้นยศนั้น และโชคไม่ดีที่กองทัพฝรั่งเศส ต่อต้านยิวอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานั้น พวกเขาเปรียบเทียบลายมือของแดรฟุส กับลายมือที่อยู่บนกระดาษแผ่นนั้น แล้วสรุปว่าลายมือนั้นตรงกัน ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญด้านลายมือจากภายนอก จะไม่มั่นใจสักเท่าไรว่ามันคล้ายกัน แต่พวกเขาก็ไม่สนใจ พวกเขาไปตรวจค้นที่พักของแดรฟุส เพื่อหาร่องรอยใด ๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับของการจารกรรม พวกเขาตรวจดูเอกสารเขา แต่ก็ไม่พบอะไรเลย พวกเขาก็ยิ่งเชื่อว่าแดรฟุสได้ปิดบังอำพราง เพราะเห็นได้ชัด ว่าเขาจะต้องซุกซ่อนหลักฐานทั้งหมด ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปพบ
จากนั้น พวกเขาก็ไปตรวจสอบ ประวัติส่วนตัวของเขา เพื่อหารายละเอียดการกระทำความผิด จนกระทั่งพวกเขาคุยกับครูของแดรฟุส และพบว่าเขาได้ศึกษาภาษาต่างประเทศในโรงเรียน สิ่งนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความต้องการที่จะสมคบคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ต่อไปในอนาคตของเขา ครูของเขายังบอกอีกว่าแดรฟุสมีความจำ ที่ดีเยี่ยม และทุกคนก็รู้เรื่องนั้น ด้วยสิ่งที่ครูพูดทุกคนเริ่มคิดว่าเขาอาจเป็นสายลับ เพราะสายลับต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ มากมาย
ดังนั้นคดีนี้ก็เข้าสู่การสอบสวน และแดรฟุสก็ตกเป็นผู้กระทำความผิด พวกเขาลงโทษเขาด้วยการจำคุกตลอดชีวิต ใน เกาะเดวิลล์ (Devil’s Island) ซึ่งเป็นโขดหินแห้งแล้งนอกชายฝั่งอเมริกาใต้ เขาใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว เขียนจดหมายฉบับแล้วฉบับเล่า ไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส ร้องขอให้พวกเขารื้อคดีนี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวฝรั่งเศส ต่างมองว่าคดีนี้จบลงแล้ว
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของแดรฟุส ก็คือคำถามที่ว่า ทำไมนายทหารทั้งหลาย ถึงได้เชื่อมั่นอย่างมาก ว่าแดรฟุสกระทำความผิด จากเรื่องที่กาเลฟเล่ามา เราอาจเข้าใจได้ว่าพวกเขาใส่ความแดรฟุสหรือเปล่า แต่นักประวัติศาสตร์ไม่ได้คิดแบบนั้น จากเท่าที่เรารู้ เหล่านายทหารต่างเชื่อจริง ๆ ว่า ข้อสนับสนุนในคดีของแดรฟุสนั้นมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจทำให้คุณตั้งคำถาม ว่ามันบ่งบอกอะไร เกี่ยวกับความนึกคิดของมนุษย์ ที่ทำให้หลักฐานเพียงเล็กน้อยแบบนั้น มีน้ำหนักพอที่จะทำให้ชายคนหนึ่งมีความผิดได้
และนี่คือกรณีศึกษาที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า “การคิดหาเหตุผลประกอบด้วยแรงจูงใจ” มันคือปรากฏการณ์ ที่ซึ่งแรงจูงใจใต้สำนึกของเรา ความปรารถนา และความกลัวของเรา มีอิทธิพลต่อวิธีการที่เราตีความข้อมูล ดังนั้นข้อมูล และแนวคิดบางอย่าง จะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นฝ่ายเดียวกับเรา เราต้องการให้มันชนะ เราต้องการที่จะปกป้องมัน ส่วนข้อมูลและแนวคิดอื่น ๆ นั้น จะกลายเป็นศัตรู และเราต้องการกำจัดมัน และนี่คือเหตุผลที่ฉันเรียกการให้เหตุผล แบบมีแรงจูงใจว่า “กรอบความคิดแบบทหาร”
อย่างเช่นเมื่อเราเชียร์กีฬาแล้วกรรมการตัดสินว่าทีมของที่เราเชียร์ทำผิด คุณจะมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะหาเหตุผล ว่าทำไมเขาถึงตัดสินผิดพลาด แต่ถ้าเขาตัดสินว่าทีมฝ่ายตรงข้ามทำผิด — นั่นเยี่ยมเลย! นั่นเป็นการตัดสินที่ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องตรวจสอบอะไรมากก็ได้
หรือบางทีเวลาที่คุณอ่านบทความหรืองานวิจัย ที่ตรวจสอบนโยบายบางอย่าง ที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เช่น การลงโทษประหารชีวิต สมมติว่าคุณสนับสนุนการประหารชีวิต แต่ผลการศึกษาวิจัยแสดงออกมาว่า มันไม่มีประสิทธิภาพ คุณก็จะมีแรงจูงในอย่างมาก ที่จะหาเหตุผลต่าง ๆ นานา ว่าทำไมการศึกษานั้นถึงออกแบบมาได้ไม่ดี กลับกัน ถ้ามันแสดงว่า การประหารชีวิตนั้นเป็นวิธีที่ดี เยี่ยมมาก มันคืองานวิจัยที่ดี และในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณไม่สนับสนุน การลงโทษประหารชีวิต ผลก็ยังคงเหมือนเดิม การตัดสินของเรานั้นได้รับอิทธิพลอย่างมาก โดยที่เราไม่รู้ตัว จากฝ่ายที่เราต้องการให้ชนะ
สิ่งนี้สามารถพบได้ทั่วไป มันส่งผลต่อวิธีการคิดของเรา ในเรื่องสุขภาพ ความสัมพันธ์ การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของเรา หรือสิ่งที่เรามองว่าถูกต้องหรือมีศีลธรรม สิ่งที่ดูน่ากลัวที่สุดของการ
มีเหตุผลแบบมีแรงจูงใจ หรือกรอบความคิดแบบทหาร ก็คือการที่เราแทบไม่รู้ตัว เราอาจคิดว่าเราเป็นคนที่ยุติธรรม และไม่ลำเอียง แต่สุดท้าย เราก็ยังทำลายชีวิตของผู้บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตาม โชคยังดีสำหรับแดรฟุส พันเอกปีการ์เริ่มเอะใจว่า “ถ้าเราทุกคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับแดรฟุสล่ะ?” และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเขาได้ค้นพบหลักฐาน ว่าการสอดแนมของเยอรมนียังคงเกิดขึ้นอยู่ ถึงแม้ว่าแดรฟุสจะอยู่ในคุกแล้วก็ตาม และเขายังพบอีกว่า นายทหารอีกคนในกองทัพ มีลายมือที่ตรงกันกับในบันทึกที่พบทุกประการ ซึ่งเหมือนมากกว่าลายมือของแดรฟุสมาก เขาจึงนำเรื่องนี้ไปรายงานผู้บังคับบัญชา แต่เขากลับต้องผิดหวัง เพราะว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่องนี้ พวกเขาเชื่อว่าหลักฐานที่ปีการ์เอาออกมา เพียงแค่ชี้ให้เห็นว่ามีสายลับอีกคน ที่พยายามเลียนแบบลายมือของแดรฟุส และเขาก็รับช่วงทำหน้าที่เป็นสายลับต่อ หลังจากที่แดรฟุสไปแล้ว แต่แดรฟุสก็ยังเป็นคนผิดอยู่ดี
ในท้ายที่สุด ปีการ์ก็ทำให้แดรฟุส พ้นจากข้อกล่าวหาได้สำเร็จ แต่เขาใช้เวลาถึง 10 ปี และในช่วงหนึ่ง เขาเองก็ติดคุกด้วย ในข้อหาไม่ซื่อสัตย์ต่อกองทัพ ในขณะเดียวกันผู้คนต่างรู้สึกว่าปีการ์ ไม่อาจเป็นวีรบุรุษของเรื่องนี้ได้ เพราะว่าเขาเองก็ต่อต้านยิว แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าปีการ์ต่อต้านยิวนั้น จริง ๆ แล้วกลับทำให้การกระทำของเขา น่ายกย่องมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเขามีทั้งอคติและเหตุผล ที่จะทำให้เขาลำเอียงได้เช่นเดียวกัน กับคนอื่น ๆ แต่แรงจูงใจของเขาในการค้นหาความจริง และค้ำชูความจริงนั้นเอาชนะทุกสิ่ง ปีการ์คือตัวแทนของสิ่งที่ฉันเรียกว่า “กรอบความคิดแบบทหารพราน” มันคือแรงผลักดันที่ไม่ทำให้ความคิดหนึ่งชนะ หรือความคิดอีกอย่างหนึ่งแพ้ แต่เพียงเพื่อมองสิ่งที่อยู่ตรงนั้นอย่างซื่อตรง และเที่ยงตรงเท่าที่จะทำได้ แม้ว่ามันจะไม่สวยงาม หรือง่ายดาย หรือน่าพอใจ และกรอบความคิดแบบนี้
และนั่นคือสิ่งที่กาเลฟศึกษาว่า “อะไรทำให้เกิดกรอบความคิดแบบทหารพราน ทำไมคนบางคน อย่างน้อยที่สุดก็ในบางครั้ง ถึงสามารถก้าวข้ามอคติ ความลำเอียง และแรงจูงใจของตัวเอง และพยายามมองหาแต่ความจริง และหลักฐาน อย่างไร้อคติที่สุดเท่าที่จะทำได้”
ขณะที่กรอบความคิดแบบทหาร นั้นเกิดขึ้นมาจากอารมณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น การปกป้องหรือความเป็นพวกพ้อง กรอบความคิดทหารพรานก็เป็นแบบเดียวกัน ทว่าพวกเขามักสงสัยใคร่รู้ พวกเขามักบอกว่า รู้สึกพึงพอใจ เวลาที่พวกเขาได้พบข้อมูลใหม่ ๆ หรือเกิดความต้องการที่จะแก้ปัญหา พวกเขามักเกิดความสนใจ เวลาที่พวกเขาพบเจอกับบางสิ่ง ที่ขัดกับความคาดหมายของพวกเขา ทหารพรานยังมีค่านิยมที่แตกต่างออกไป พวกเขามักพูดว่าการตรวจสอบ ความเชื่อของตัวคุณเองนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และมักไม่พูดว่าคนที่เปลี่ยนใจนั้น เป็นคนอ่อนแอ และเหนือสิ่งอื่นใด ทหารพรานนั้นมีเหตุมีผล ซึ่งหมายความว่า คุณค่าในตนเองในฐานะบุคคลของพวกเขานั้น ไม่ได้เกี่ยวกับว่า พวกเขาถูกหรือผิดอย่างไรในเรื่องนั้น ๆ ฉะนั้น พวกเขาอาจเชื่อว่าโทษประหาร เป็นการกระทำที่เหมาะสม และถ้าผลการศึกษาแสดงว่า มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขาอาจพูดว่า “โอ้ ดูเหมือนว่าฉันจะผิดซะแล้ว แต่นั่นไม่ได้แปลว่าฉันไม่ดีหรือสมองทึบนะ”
ในตอนท้ายของเรื่องกาเลฟกล่าวว่าอุปนิสัยเหล่านั้น พวกมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับว่าคุณฉลาดแค่ไหน หรือคุณรู้มากแค่ไหน อันที่จริง มันไม่ได้สัมพันธ์ กับไอคิวเลยด้วยซ้ำ แต่มันเกี่ยวกับว่าคุณรู้สึกอย่างไร
เธอยกคำกล่าวของแซ็งแตกซูว์เปรี ในหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ที่ว่า
“ถ้าคุณต้องการสร้างเรือสักลำ จงอย่าระดมคนงานของคุณ ให้ออกไปหาไม้แล้วคอยออกคำสั่ง และมอบหมายงาน แต่จงสอนพวกเขาให้โหยหาความกว้างใหญ่ อันไร้ขอบเขตของทะเล”
หรืออาจพูดได้ว่าถ้าเราต้องการพัฒนาวิจารณญาณของเรา อย่างแท้จริงในฐานะบุคคลหรือสังคม สิ่งที่เราต้องการที่สุด ไม่ใช่คำสั่งในเชิงเหตุผล หรือการใช้วาทศิลป์จูงใจ หรือความน่าจะเป็น หรือเศรษฐศาสตร์ แต่สิ่งที่เราต้องการที่สุด เพื่อให้ปรับใช้หลักการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ก็คือกรอบความคิดแบบทหารพราน เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีที่เรารู้สึก เราต้องเรียนรู้ว่าจะรู้สึกภูมิใจ แทนที่จะอับอายได้ เมื่อเรารู้ว่าเราอาจผิดพลาดในบางอย่าง เราต้องเรียนรู้ที่จะรู้สึกสนใจ แทนที่จะปกป้องตนเอง เมื่อเราพบสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา
นำมาสู่คำถามทิ้งท้ายว่า “คุณปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด คุณปรารถนาที่จะปกป้องความเชื่อของตนเอง หรือคุณปรารถนาที่จะมองเห็นโลก อย่างแจ่มชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
ที่มา : https://www.ted.com/talks/julia_galef_why_you_think_you_re_right_even_if_you_re_wrong/transcript