Mike Cannon-Brookes : เราจะใช้ Imposter Syndome เป็นประโยชน์ได้อย่างไร
คุณเคยสงสัยในความสามารถของตัวเองไหม กลัวว่าตัวเองจะถูกมองว่าเป็น “พวกหลอกลวง” นั่นเรียกว่า “กลุ่มอาการที่เรียกว่า Imposter Syndome” และถ้าคุณรู้สึกแบบนั้น คุณไม่ได้โดดเดี่ยวอย่างแน่นอน Mike Cannon-Brookes เป็นผู้ประกอบการ นักลงทุนด้านเทคโนโลยี และผู้ประกาศข่าว ผู้มีความสนใจด้านพลังงานสะอาด ได้แบ่งปันประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับ Imposter Syndome รวมถึงบอกวิธีที่เขาใช้มันไปสู่ความสำเร็จของตัวเองและเราสามารถใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
บรูกส์ เริ่มต้นโดยการเล่าว่าเขาคือ CEO ผู้ก่อตั้งและบริหารบริษัท Atlassian บริษัทซอฟแวร์บริษัทหนึ่ง ในปัจจุบันเขาเป็นมหาเศรษฐีชาวออสเตรเลียที่ประสบความสำเร็จ มีพนักงานในองค์กรกว่าพันคน และผู้ใช้แพลตฟอร์มของเขาเป็นล้านคนทั่วโลก และถึงแม้ว่าใคร ๆ หลายคนจะมองว่าเขามีชีวิตการงานที่ดี แต่ความจริงแล้ว ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา “เขารู้สึกว่าตัวเองไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” และนั่นก็คือตอนที่เขารู้ว่าเขามีอาการของ “Impostor syndrome”
เขารู้สึกว่า เขาไม่มีทักษะที่เพียงพอ ไม่มีประสบการณ์ที่เพียงพอ หรือมีคุณสมบัติเพียงพอที่ เขาก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเขาเหมาะสมแล้วที่จะอยู่ตรงนั้น และเขาก็จะหมกหมุ่นอยู่กับการคิดหาทางออก เพราะเขาไม่สามารถออกไปจากความคิดนั้นได้
บรูกส์เล่าว่า มันไม่ใช่เป็นการกลัวความล้มเหลว และไม่ใช่กลัวว่าจะทำไม่ได้ แต่มันเป็นความรู้สึกที่อยากจะหนีไปกับบางสิ่งบางอย่างมากกว่า และเขามีความกลัวที่จะถูกค้นพบ ในเมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าใครบางคนคิดออก ว่าคุณไม่เหมาะสมกับมัน เขาก็จะคิดอย่างตรงไปตรงมาว่า “อืม มันก็ยุติธรรมดีแล้ว” บางทีเขาก็รู้สึกว่าวันหนึ่งอาจจะใครสักคนเคาะประตูบ้านเขาแล้วก็บอกว่าว่า “ทุกอย่างมันจบแล้ว ไปหางานอื่นทำได้แล้ว” เขายังคงมีความรู้สึกเช่นนั้น ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่คนมาส่งพิซซ่าให้ลูก ๆ ของเขาก็ตามที
แต่สิ่งสำคัญที่บรูกส์พยายามจะบอกก็คือว่า Impostor Syndrome นี้มันไม่ได้แย่ไปเสียทั้งหมด และจากประสบการณ์ของเขาเอง และมีวิธีที่พยายามเรียนรู้ที่จะควบคุม impostor syndrome และเปลี่ยนมันให้กลายเป็นพลังในทางที่ดี
และตัวอย่างที่ดีของประสบการณ์เหล่านั้นก็คือในยุคแรกๆ ของการก่อตั้ง Atlassian ตอนนั้นบริษัทมีอายุประมาณสี่ปี และทั้งบริษัทมีพนักงานประมาณ 70 คน และตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบบัญชี เขาพาบริษัทเข้าสู่การแข่งขันผู้ประกอบการแห่งปีของนิวเซาธ์เวลส์ (New South Wales Entrepreneur of the Year) จนถึงตอนนี้ เขาก็รู้สึกประหลาดใจที่ได้รับรางวัลผู้ประกอบการแห่งปีในประเภทผู้ประกอบการอายุต่ำกว่า 40 ปี และที่จริงแล้วเขาประหลาดใจมาก เมื่อดูรายชื่อคนที่เขาต้องไปเผชิญหน้า คนเหล่านั้นไม่ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลด้วยซ้ำ เขาและ co-founder ต้องเดินทางไปรับรางวัลระดับประเทศ
บรูกส์เล่าว่าเขาไปงานกาล่าด้วยสูทและไทด์ดำ นั่นเป็นการรับรางวัลแรกของเขา ในฐานะ Australian Young Entrepreneur of the Year งานเลี้ยงก็เริ่มขึ้น และค่ำคืนก็จบลงอย่างสวยงาม เขามีช่วงเวลาที่ดีมาก แต่พอกรอไปเหตุการณ์ข้างหน้าสู่รางวัลสุดท้ายของคืนนั้น ผู้ประกาศรางวัลเป็น ซีอีโอของ Ernst and Young เขาเปิดซองจดหมาย และคำแรกที่ออกจากปากของเขาคือ “โอ้ พระเจ้า” ใช่ — บรูกส์และคณะได้รับรางวัลใหญ่ของงาน เขาพึ่งรู้ว่าเขามาได้ไกลเกินกว่านั้น เขาจะต้องเดินทางจากยัง Monte Carlo เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศออสเตรเลียในงาน World Entrepreneur of the Year เพื่อแข่งกับธุรกิจจากอีก 40 ประเทศ และตอนที่ได้รับเกียรติให้ไปร่ววมงานนั้น เขานั่งข้างกับ Belmiro de Azevedo ผู้ชนะรางวัลจากตุรกี ผู้ชายคนนั้นอายุ 65 ปี ทำธุรกิจมาแล้ว 40 ปี มีพนักงาน 30,000 คน มีเงินหมุนเวียน 4 พันล้านยูโร ซึ่งในขณะนั้น เขามีพนักงานอยู่ แค่ 70 คน บรูกส์จำได้ว่าขณะนั้นเขาไม่ยอมรับว่าตัวเองสมควรที่จะอยู่ที่นั่น เขาเอาแต่คิดว่าจะมีใครบางคนเดินมาแล้วส่งเขากลับออสเตรเลีย
บรูกส์เล่าว่า Azevero หยุดและมองมาที่เขา และบอกว่าเขาว่าเขารู้สึกแบบเดียวกัน ตอนนั้นเขาก็แอบสงสัยว่าผู้ชนะทุกคนจะรู้สึกแบบนั้นไหม และถึงแม้ว่า Azevero จะไม่รู้จักเขาหรือ co-founder ของเขา หรืออะไรจริงๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี เขาก็พูดว่า “เห็นได้ชัดว่าพวกคุณกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องและควรจะทำต่อไป”
เขาคิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จจะไม่มีความรู้สึกเหมือนเขา และเขาก็รู้ว่าสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งเขาที่คิดจะทำมันเป็นความจริงมากกว่า บรูกส์กล่าวว่านี่ไม่ใช่แค่ความรู้สึกที่เขามีในที่ทำงาน แต่มันเกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวของเขาด้วย เช้าวันหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีก่อน ระหว่างการเดินทางประจำสัปดาห์ เขาพบหญิงสาวแสนสวยคนหนึ่ง เดินตรงมาหาเขาและทักเขาว่าเป็นใครคนหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าตอนนั้นเขาคือ “Impostor” เขาบอกกับเธอว่า เธอคงจำผิด แต่อย่างไรก็ตามเขาชวนเธอคุยต่อ และตอนนี้เขาก็มีลูกกับเธอ — ผู้หญิงที่เดินเข้ามาทักเขาผิดคนนั้นปัจจุบันคือภรรยาของเขา
และถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น ทุก ๆ วัน เขาก็จะคิดว่า เธอจะพูดกับเขาว่า “นายเป็นใครน่ะ ออกไปจากที่นี่นะ” แต่เธอก็ไม่เคยคิดอย่างนั้น และบรูกส์คิดว่าบางทีภรรยาของเขาก็รู้สึกไม่ต่างกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าความรู้สึกนั้นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้การแต่งงานกันของเขาประสบความสำเร็จ
บรูกส์ได้เรียนรู้ว่าคุณลักษณะหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ ก็คือการที่ทั้งคู่รู้สึกว่าคู่ของพวกเขาไม่คู่ควร (out of their league) พวกเขารู้สึกเหมือนเป็น Impostor และถ้าพวกเขาไม่หยุดที่จะมีปฏิสัมพันธ์กัน พวกเขาจะรู้สึกขอบคุณที่มีกันและกัน และพวกเขาจะทำงานหนักขึ้นและอยู่ด้วยกันนานขึ้น เพื่อเป็นคู่ที่ดีที่สุดที่พวกเขาสามารถเป็นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีความรู้สึกนี้อย่าหยุด พยายามทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไป แม้ว่าเธอจะคิดว่าคุณเป็นคนที่ไม่ใช่คุณ (even if she thinks that you’re somebody that you’re not.)
ตอนนี้ความรู้สึกเหมือนหรือคิดว่าเป็น “คนนั้น” ไม่ได้เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยกับบรูกส์ เขาเล่าว่าเขาเห็นบางอย่างบน Twitter เกี่ยวกับ Tesla ที่บอกว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหาวิกฤติด้านพลังงานของรัฐเซาท์ออสเตรเลียได้โดยใช้หนึ่งในนั้นคือ การทำแบตเตอรี่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ( large industrial batteries)
มันแทบจะไม่ได้คิดอะไร เขาไล่ทวีตออกไปหลายครั้ง และท้าทายพวกเขาและบอกว่าพวกเขาจริงจังกับเรื่องนี้มากไหม และในการทำเช่นนั้น ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา Elon ทวีตตอบกลับมาและบอกว่าพวกเขาจริงจังมาก(deadly serious) เขาเตรียมที่จะเซ็นสัญญาเป็นร้อยใบ พวกเขาสามารถติดตั้งโรงงานขนาด 100 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และนั่นคือตอนที่ทุกอย่างหล่นมาที่เขา ภายใน 24 ชั่วโมง บรูกส์ถูกติดต่อจากสื่อหลักทุกแห่งที่ผ่านข้อความและอีเมล พวกเขาพยายามติดต่อกับเขาเพื่อรับความคิดเห็นในฐานะ “ผู้เชี่ยวชาญ” ในด้านพลังงาน
ซึ่งจนกระทั้งวันนี้ เขาก็บอกว่า เขาไม่สามารถบอกกับใครได้จริงๆ ถึงความแตกต่างระหว่างแบตเตอรี่ AA หนึ่งโวลต์ครึ่งที่ใส่ในของเล่นของลูกๆ กับโรงงานแบตเตอรี่ขนาดอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงที่ใช้งานได้จริง ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียที่จะสามารถแก้ปัญหาวิกฤตพลังงาน(power crisis)ได้ เขารู้สึกถึงอาการ impostor syndrome อีกครั้ง
และมันก็แปลกประหลาดจริงๆ และเขาจำได้ว่า เขาคิดกับตัวเองว่า “เชี้* เราเริ่มอะไรบางอย่างที่นี่และจะออกจากมันได้ยังไง ถ้าเราทิ้งสถานการณ์ไว้แบบนี้ ก็เท่ากับเราจะเลิกใช้พลังงานหมุนเวียนในออสเตรเลีย และมันอาจดูเหมือน คนงี่เง่าที่สมบูรณ์แบบเพราะความงี่เง่าของตัวเองใน Twitter”
ดังนั้นสิ่งที่เขาคิดว่าสิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือพยายามอย่าหยุดและพยายามเรียนรู้ ดังนั้นเขาจึงใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการเรียนรู้ทุกอย่างที่ทำได้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ระดับอุตสาหกรรม โครงข่ายไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐศาสตร์ของสิ่งเหล่านี้ และไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้หรือไม่ เขาได้พูดคุยกับหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ เขาได้พูดคุยกับ CSIRO มีรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีหลายคนพยายามที่จะให้เรื่องราวของพวกเขาจากทั้งสองด้านของกระบวนการแก่เขา
แต่ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ รัฐเซาท์ออสเตรเลียจึงได้ดำเนินการประมูลราคาสำหรับแบตเตอรี่ และพวกมีผู้ประกอบการมากกว่า 90 รายการนำเสนอการทำแบตเตอรี่นั้น และมีสนทนาระดับชาติในช่วงสองสามเดือน มีการนำเรื่องเข้าไปหารือในรัฐสภาเพื่อหารือเกี่ยวกับเคมีแบตเตอรี่ในระดับอุตสาหกรรม สำหรับการสร้างแบตเตอรี่หมุนเวียนขนาดใหญ่
ดังนั้นบรูกส์จึงคิดว่าบทเรียนที่สำคัญก็คือเมื่อถึงเวลานั้นในชีวิต เขารู้ดีที่เขาเป็น ฉันเป็น impostor syndrome เพราะแทนที่จะหยุดนิ่ง เขาจะพยายามเรียนรู้ให้มากที่สุด โดยใช้แรงบันดาลใจจากความกลัวว่าที่ดูเหมือนคนงี่เง่า และพยายามเปลี่ยนสิ่งนั้นให้เป็นแรงผลักดันในทางที่ดี
สิ่งหนึ่งที่บรูกส์ได้เรียนรู้ก็คือ คนที่ประสบความสำเร็จมักไม่ตั้งคำถามกับตัวเอง แต่พวกเขามักตั้งคำถาม ตั้งคำถามกับความคิด และความรู้เป็นประจำ
พวกเขาจะรู้ว่าเมื่อใดที่น้ำลึกเกินไป และพวกเขาไม่กลัวที่จะขอคำแนะนำ พวกเขาจะไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี และพวกเขาจะใช้คำแนะนำนั้นเพื่อขัดเกลาความคิดเหล่านั้น ปรับปรุง และเรียนรู้ บรูกส์กล่าวว่า มันไม่เป็นไรที่จะอยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่สามารถกดปุ่มดีดออกมาได้ และตราบใดที่ไม่หยุด ตราบใดที่พยายามควบคุมสถานการณ์ ความพยายามจะกลายเป็นแรงบังคับให้เกิดสิ่งที่ดี
ที่มา : https://www.ted.com/talks/mike_cannon_brookes_how_you_can_use_impostor_syndrome_to_your_benefit/transcript?rid=G0LIhKbvJa78&utm_source=recommendation&utm_medium=email&utm_campaign=explore&utm_term=watchNow