แกะในกล่องของเจ้าชายน้อยสู่ความกลัวว่าจะดีไม่พอในวันที่เติบโต
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้ย้อนกลับไปดูอีบุ๊คส์ที่เคยโหลดไว้ใน IPad หนึ่งในเรื่องที่ผู้เขียนมีติดเครื่องไว้นั่นก็คือ “The Little Prince” หรือ “เจ้าชายน้อย” วรรณกรรมระดับขอบทองที่โด่งดังไปทั่วโลก ผู้เขียนได้อ่านอีกครั้งและครั้งนี้ผู้เขียนติดใจกับเรื่องราวในบทที่ 2 ของเรื่องมากๆ ในตอนที่ 2 ของหนังสือเล่มนี้เป็นตอนที่นักบินที่เครื่องบินตกกลางทะเลทรายได้พบกับเจ้าชายน้อยเป็นครั้งแรกและครั้งนั้น เจ้าชายน้อยพูดกับเขาว่า
ด้วยความงุนงงนักบินก็หยิบเอากระดาษขึ้นมา แต่เขากลับไม่สามารถจะวาดแกะออกมาได้ เพราะว่า “ติด (stuck)” กับสิ่งที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ แกรมม่า เลขคณิต — จากตรงนี้มันทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่า
ในปัจจุบันโลกของเราหมุนไปอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขัน มีการแลกเปลี่ยน ใครหลายคนที่เสพติดการแข่งขัน แรงบันดาลใจ และความสำเร็จเหล่านี้เข้าไปเยอะๆสิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นนอกจากความกดดัน ก็คือ “ ความกลัวว่าตัวเองจะดีไม่พอ”
ทุกวันนี้เรากลัวกันเหลือเกิน กลัวที่จะขอร้อง กลัวที่จะปฏิเสธ กลัวที่จะเริ่ม กลัวที่จะเลิก กลัวบนเหตุแห่งตรรกะ กลัวว่าจะถูกตัดสิน สิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนได้ย้อนนึกถึงคำคำหนึ่ง “Atelophobia” หรือว่าโรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ จริงๆแล้วโรคนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ Perfectionism หรือโรคคลั่งความสมบูรณ์แบบ แต่แตกต่างกันที่ว่าโรคกลัวว่าตัวเองจะไม่ดีพอจะหลีกหนี ส่วนโรคคลั่งความสมบูรณ์แบบจะยิ่งทำ
- Atelophobia เกิดขึ้นเพราะอะไรได้บ้าง
Phobia ชนิดนี้เกิดจากความกลัวว่าตัวเองจะไม่ดีพอ การเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งแวดล้อม ความกดดันและหนึ่งในสาเหตุหนึ่งก็คือ “วัยเด็ก” จิตวิทยาพัฒนาการทำให้เราเห็นว่าทุกๆช่วงวัยนั้นเป็นสเต็ปต่อไปของจิตใจ Atelophobia ก็คือหนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเรามีประสบการณ์วัยเด็กที่เลวร้าย เหตุการณ์ที่จำฝังใจไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายทางร่างกายหรือจิตใจก็เป็นพื้นฐานที่นำมาสู่ Atelophobia ในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่น ถ้าสมมติว่านักบินผู้นี้เป็น Atelophobia อย่างที่ผู้เขียนสันนิษฐาน แน่นอนว่าบทที่ 1 ในเจ้าชายน้อยที่เขาโดนผู้ใหญ่เยาะเย้ยจากการที่วาดรูปงูยักษ์(Boa) แต่ผู้ใหญ่ขบขันและมองว่าเป็นหมวกตลกๆ นั่นก็คือคำตอบว่าเขาได้พื้นฐานความกลัวตัวเองจะดีไม่พอมาจากไหน
- สังเกตยังไงว่าตัวเองคือ Atelophobia (อ้างอิงจาก OOca)
1.เรากลัวข้อบกพร่อง : เรากลัวว่าสิ่งที่เราทำลงไปจะก่อให้ความไม่สมบูรณ์แบบอย่างสมบูรณ์ กลัวที่จะประสบกับความล้มเหลว อย่างเดียวกันกับคุณนักบินที่กลัวว่าถ้าวาดแกะลงไปอาจจะไม่ดี
2.เราหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำผิด : หลายครั้งคนที่มี phobia ชนิดนี้จะกลัวผลลัพธ์ที่สร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง อาจจะไม่ใช่เพราะกลัวการตัดสินจากคนอื่นแต่กลัวการถูกตัดสินจากตัวเอง เช่น คุณนักบินที่ตอนเขาหลีกเลี่ยงที่จะวาดแกะและวาดสิ่งที่เขาถนัด
3.มาตรฐานที่ตั้งสูงเกินไป : ในความเห็นของผู้เขียนสิ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้ phobia ชนิดน่ากลัว แน่นอนว่าการมีมาตรฐานที่สูงนั้นดี แต่ถ้าเราเอามาแต่หาข้อบกพร่องและเอาแต่สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆนั้นมันโอเคแล้วจริงๆหรือ?
- กลัวตัวเองไม่ดีก็คือถ่อมตัวไม่ใช่ว่าดีแล้วเหรอ?
การถ่อมตัวคือการที่เราไม่หยิ่งทะนงค์ พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่และกล้าที่จะลงมือทำ แต่กลัวตัวเองไม่ดีคือการหลีกหนีสิ่งที่ตัวเองกลัวจะล้มเหลว สิ่งที่มันจะกระทบในชีวิตประจำวันของเราก็คือ “ความวิตกกังวล” ที่จะทำให้เราไม่กล้าที่จะลงมือทำ ไม่กล้าที่จะคาดหวัง ก่อให้เกิดความเครียดและยิ่งแย่ไปกว่านั้นคืออาจจะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าและนำมาสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด
- วิธีการก้าวผ่านความกลัวว่าตัวเองจะดีไม่พอ
ในหลายเว็บไซต์เขาแนะนำมาว่าวิธีที่ดีที่สุดในการบำบัดความกลัวนี้ก็คือ การเปลี่ยนความกลัวให้เป็นแรงผลักดัน การมองบวกและถ้าหากสิ่งนี้มันกระทบกับชีวิตประจำวันก็ควรที่จะไปพบกับแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการบำบัด
แต่สิ่งหนึ่งที่เราพอจะเห็นได้จากการก้าวผ่านความกลัวใน บทที่ 2 ของนักบินในเจ้าชายน้อยก็คือคุณนักบินก็แค่ลงมือวาดไป และเมื่อแกะตัวแรกที่วาด เจ้าชายน้อยลงความเห็นว่าดูเหมือนแกะป่วย เขาก็แค่ made another drawing และถ้ามันยังไม่ใช่อีก สิ่งนั้นกลายเป็น “แพะ” หรือ “แกะที่แก่เกินไป” ก็เติมความคิดสร้างสรรค์ลงไป เช่น วาดกล่องขึ้นมาสักใบแล้วอธิบายว่าด้านในมีแกะที่สมบูรณ์อยู่
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Phobia-detail
https://h201.co/blog/emotional-employee-experience-atelophobia
https://www.healthline.com/health/mental-health/atelophobia#treatment