Stockholm Syndrome และการรับน้อง ก่อน COVID-19
“การรับน้อง” เป็นเรื่องที่เก่าแก่และถือว่าเป็นเรื่องคลาสสิคผู้เขียนมักเขียนถึงและมีความคิดเห็นในเรื่องนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 ขณะนั้นผู้เขียนอายุ 17 ปี พึ่งออกจากบ้านและมีศักยภาพในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆสำหรับตัวเองเป็นครั้งแรก ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาก่อน COVID-19 ทำให้เมื่อเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา ต้องพบเจอกับกิจกรรมรับน้องถือ ซึ่งในขณะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมประจำคณะที่บังคับให้ทุกคนจะต้องมีประสบการณ์ ไม่ว่ากระบวนการจะยาวหรือสั้น โซตัสย่อมสร้างความทรงจำในใจของเด็กอายุ 17-18 ปีคนนั้นแน่ๆ หรือบางครั้งการรับน้องก็อาจถึงขั้นนำมาซึ่งชีวิตเหมือนที่เห็นๆกันในข่าวใหญ่ เพราะความไม่ยั่งคิดของเหล่ารุ่นพี่และเพื่อนๆ
** รับน้องและโซตัสจริงๆไม่ได้ทำให้ใจฟูเหมือนซีรี่ย์ที่นำเอาเรื่องอำนาจนิยมมา Romanticise อย่างแน่นอน (วิดีโอประกอบในเรื่องแสดงแนวคิดเห็นที่เป็นกลางต่อระบบโซตัส)
สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดขึ้นได้ระหว่างที่โดน Gaslighting เพื่อให้เห็นดีเห็นงามกับระบบ SOTUS ก็คือการคลั่งระบบรับน้องบางทีมันก็มีอาการเหมือนคนป่วยทางจิต ในตอนนั้นก็คิดตื้นๆได้ว่าเหมือน คนบ้า
- SOTUS คืออะไร
Seniority (ความอาวุโส)
Order (ระเบียบ)
Tradition (ประเพณี)
Unity (ความสามัคคี)
Spirit (ความมีน้ำใจ)
ดูรวมๆแล้วมันก็เป็นเหมือนเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วนี่ ละโซตัสไม่ดียังไง หัวใจของระบบโซตัสให้ความสำคัญกับ “อำนาจ” ที่เกิดจาก “ของที่ทำมานานแล้วโดยคนกลุ่มใหญ่” ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นหลักหนึ่งที่ละเมิดความเป็นประชาธิปไตยที่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย โซตัสปลูกฝังความเป็นอำนาจนิยมในกลุ่มเยาวชนที่กำลังเติบโต และไม่แปลกเลยที่คนในสังคมปัจจุบันจะสามารถอดทนต่อรัฐบาลที่ทุจริตหรือระบบอาวุโสในองค์กรได้
ส่วนข้อดีของโซตัสก็คือ มันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนเชื่อฟัง ทำให้เกิดระเบียบในองค์รวมเหมาะแก่สังคมที่จำเป็นต้องมีระเบียบวินัยสูง เช่น กองทัพ
- จุดสังเกต Stockholm Syndrome และการรับน้อง ก่อน COVID-19
ดั่งที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของรับน้องก่อนโควิด 19 ที่เป็นบาดแผลร่วมที่ผู้เขียนมีอย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะไม่มีวัน และเมื่อคิดมานานว่าทำไมตอนนั้นเราถึง “พร้อมทำตามด้วยความยินยอมและเห็นดีเห็นงามขนาดนั้น” ในที่สุดก็เจอสิ่งที่พอจะอธิบายได้ ลักษณะของคนที่คลั่งโซตัสคล้ายกับอาการ “สตอล์กโฮมซินโดรม” ซึ่งเป็นอาการที่เหยื่อที่ไปชมชอบคนร้าย อาจจะไม่ได้หมายถึงการตกหลุมรักเชิงชู้สาว แต่เป็นการเห็นดีเห็นงามและปกป้องผู้ลงมือละเมิดตัวเอง
จากการศึกษาอาการ Stockholm Syndrome อาการนี้เป็นกลไกป้องกันตัวเองแบบหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความเครียด คล้ายๆกับการที่เรามักจะทำตัวเป็นเด็ก เมื่อรู้สึกว่าไม่พึงใจ หรือการก้าวร้าวเมื่อเจอปัญหา เหยื่อเกิดสภาวะตึงเครียด จิตใจก็จะพยายามหาเหตุผลมาอธิบาย รองรับความรู้สึกของตัวเอง(ปรับตัวเพื่อการอยู่รอด)
สิ่งที่ทำให้ Stockholm Syndrome เป็นตำนานเกิดจากเรื่องในช่วงปี 1973 มี คนร้ายบุกปล้นธนาคารในกรุงสต๊อกโฮห์ม สวีเดน แต่หลังจากที่เหยื่อถูกปล่อยตัวออกมา เหยื่อกลับปฎิเสธที่จะเป็นพยานเพื่อจับกุมผู้ทำผิดและถึงกับเริ่มระดมเงินจะประกันตัวด้วยซ้ำ
แม้จะเป็นอาการที่รู้จักกันดีแต่กลุ่มอาการสตอกโฮล์มยังไม่ได้รับการยอมรับจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิตฉบับใหม่ (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) คู่มือนี้ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางสุขภาพจิต ตามข้อสันนิษฐานหลักของอาการนี้มีหลายแบบ แต่อันหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะอธิบายเรื่องนี้ได้คือ ทฤษฎี Identification with the Aggressor หรือภาษาไทยเรียกว่าการเลียนแบบในด้านเลว เมื่อเราอยู่ในสภาวะตึงเครียด (ที่เกิดจาการกระทำของผู้อื่น เราจะพยายามรับมือกับมันด้วยการเป็นพวกเดียวกัน)
ยกตัวอย่าง เช่น วันหนึ่งเราเข้าห้องเชียร์เราถูกจับให้นั่งรวมกันในห้องสี่เหลี่ยม มีชายฉกรรณ์พูดจากระโชกโฮกฮาก เราถูกสั่งให้นั่งนิ่งๆ โดยมีชายฉกรรณ์ล้อมวงกันอยู่รอบตัวเรา คอยตะโกนสั่งให้เราอยู่นิ่งๆ ห้ามขยับมือ ห้ามขยับแขนขา จัดท่านั่งให้เรา ร้อยทั้งร้อยเราคงเกิดความเครียด พอว้ากเสร็จ เรากลัวแล้วเราก็จะมีโอกาสได้เจอเขาหลังจากเลิกห้องเชียร์ ตามธรรมดาแล้วรุ่นพี่กลุ่มนั้นก็จะมาพูดเล่น เลี้ยงขนมหรือหยอกล้อนอกห้องเชียร์ สิ่งนั้นจะทำให้เราได้สัมผัสตัวตนของเขาว่าเป็นคนใจดี เลี้ยงน้ำ เลี้ยงขนม เมื่อเข้าห้องเชียร์มาอีกครั้ง ครั้งนี้เราก็จะทำตัวเป็นพวกเดียวกัน หรือในปีถัดไปเราก็เอาอย่างเขากลายเป็นกลุ่มคนอนุรักษ์การว้ากไป
รับน้องไม่รับได้ไหมก่อน COVID-19
บางครั้งถ้าเราไม่อินกับการรับน้อง และอยากจะออกจากระบบการรับน้องก็จะมีการกดดันต่างๆ เพราะการเข้ารับน้องถูกเอาไปยึดโยงกับการเป็น “รุ่น” ซึ่งรับน้องก็หมายถึง “การเข้ารับรุ่น” สิ่งที่จะยืนยันว่าเราเป็นรุ่นก็คือการที่เราได้ผ่านกระบวนการรับน้องมาแล้ว สิ่งที่เป็นหลักฐานก็อาจจะเป็นหัวแม่เหล็กรูปสิงสาราสัตว์ ติ้ง หัวเข็ดขัด เน็คไทน์ เสื้อเชิ้ต แน่นอนว่ามนุษย์จะคว้าเอาสิ่งที่เห็นชัดๆก่อนเสมอ และกลัวการจะแปลกแยก กลัวว่าจะไม่มีเพื่อน กลัวว่าจะไม่มีคนช่วยหรือที่เรียกชัดๆก็คือ “การกลัวเป็นคนอื่น” การเล่นกับความกลัวนี้เองที่ทำให้ภายหลังคนฝั่งใจและสุดท้ายก็จะต้องตกเป็นเหยื่อของกระบวนการและสืบทอดระบบอำนาจนิยมนี้ต่อไป
ไม่รับน้องสามารถทำได้และเป็นสิทธิ์ของคุณ ไม่มีใครบังคับหรือกดดันคุณได้อ้างอิงจากกฎหมายรับน้อง ชีวิตมหาลัย 4 ปีมันมีมากกว่ากิจกรรมรับน้อง ถ้าคุณกลัวว่าคุณจะโดดเดี่ยวในมหาลัย งานกลุ่ม การเข้าชมรมที่สร้างสรรค์ หรือเพื่อนที่คิดเหมือนคุณจะเข้ามาหาคุณเอง การรับน้องไม่ใช่วิธีเดียวในการทำสร้างความทรงจำในมหาวิทยาลัย ถ้ารู้สึกว่าอะไรขัดกับตัวเองหรือทำให้ตัวเองไม่มีความสุข จงเคลื่อนย้ายตัวคุณที่อายุ 17-18 ปีนั้นออกมาดีกว่า เพราะคุณปี 1 ได้แค่ครั้งเดียวอย่าให้ใครมาพรากความสุขที่ควรจะได้รับไป
หลังจาก COVID-19 การรับน้องได้สงบลงไปเพราะไม่สามารถจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ได้ แต่การที่มนุษย์ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันเองก็นำมาซึ่งข้อน่ากังวลอีกมากมาย ทั้งนี้คงจะต้องฝากผู้อ่านติดตามกันในอนาคต
อ้างอิง
https://www.healthcarethai.com/กลไกป้องกันของจิตใจ/
https://www.tcijthai.com/news/2015/08/article/5763
https://www.britannica.com/science/Stockholm-syndrome
https://www.healthline.com/health/mental-health/stockholm-syndrome#history
http://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/419
https://thematter.co/thinkers/begining-of-stockholm-syndrome/136220