“ไม่ทำ” แล้วดี – เมื่อชีวิตยุ่งเกินไปกับเป้าหมายปีใหม่ที่ฝืนทำแต่ไม่เคยสำเร็จ
นี่คือสถิติที่ถูกเก็บโดยเว็บไซต์ researchgate.net ซึ่งถามว่าแปลกใจไหม? ตอบตามตรงก็ไม่ค่อยสักเท่าไหร่ เพราะผมเองก็เป็นหนึ่งใน 80% นั้น เป้าหมายที่เมื่อก่อนจะตั้งเป็นสิบๆข้อ เพราะหวังว่าจะทำได้บางส่วนก็ยังดี พอโตขึ้นมาหน่อยก็ลดลงเรื่อยๆเหลือประมาณ 3-4 ข้อต่อปีเท่านั้นเพื่อโฟกัสพลังงานและทุ่มเทให้กับเป้าหมายเหล่านั้นจริงๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม แม้จะมีเพียง 3-4 ข้อ ก็ยังเก็บได้บ้างไม่ได้บ้าง
กี่ครั้งที่มีคนถามว่า “ชีวิตเป็นไงบ้างช่วงนี้” ผมไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองตอบว่า “ยุ่งสุดๆเลยครับช่วงนี้” จนมีน้องคนหนึ่งถามว่า “ชีวิตพี่นี่ยุ่งตลอดเลยเนอะ” แล้วผมก็ฉุกคิด “เออวะ…กูยุ่งกับอะไรวะ?” ทำไมมันรู้สึกเหนื่อยจัง
ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะเป็นเหมือนกัน, รู้สึกเหนื่อย ล้า และบางครั้งก็ผิดหวังกับตัวเองที่จัดการกับงานและความรับผิดชอบยังไม่ดีพอ และลึกลงไปในจิตใจแล้วสิ่งเหล่านี้แทบจะกลืนกินเวลาทุกวินาทีที่ผมตื่นเลยก็ว่าได้ และนั้นไม่ได้เป็นเป้าหมายในชีวิตของผมเลย ผมไม่เคยตั้งเป้าหมายปีใหม่ไว้เลยว่า “อยากยุ่งจนไม่มีเวลา” ไม่เคยเลย
ซึ่งผมก็เจอเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจของ Romi Neustadt นักพูด นักธุรกิจ และ เจ้าของหนังสือ “You can have it all. Just not the same damn time!” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่าง เธอบอกว่าให้หยิบสมุดโน๊ตขึ้นมาเล่มหนึ่งแล้วถือติดตัวไปทุกที่ หลังจากให้เขียนทุกอย่างที่ทำในชีวิตตลอดหนึ่งอาทิตย์และแต่ละอย่างที่ทำใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งตอนแรกๆมันอาจจะดูเยอะไปนิด แต่ว่าถ้าเราไม่ทำแบบนี้เราจะไม่รู้เลยว่าเรา “ยุ่ง” กับอะไรจริงๆและไม่รู้ว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองยังไง
หลังจากที่เขียนออกมาหมดแล้วตลอดอาทิตย์ ลองมาดูกิจกรรมที่ทำแล้วแบ่งหมวดหมู่ออกมาสำหรับแต่ละอัน
เมื่อเขียนกิจกรรมออกมาแล้วให้ลองแยกประเภทให้ชัดเจน อย่าโกหกตัวเอง ที่เขียน “P” กับ “G” คือสิ่งที่คุณควรทำและทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายที่เราตั้งใจไว้จริงๆ หรืออย่าง “M” ก็เป็นสิ่งที่คุณต้องทำอย่างเข้าห้องน้ำ กินข้าว อาบน้ำ นั่งอึ (ก็เขาบอกว่าให้จดทุกอย่าง) หรือ “F” ก็เก็บเอาไว้ได้เพราะอย่างน้อยๆคือทำแล้วมีความสุข
แต่มาดูกลุ่ม “H” กับ “S” สิ่งที่คุณเบื่อหน่าย ไม่อยากทำ และสิ่งที่ควรจะทำ ยกตัวอย่างง่ายๆก็ได้อย่าง ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน งานเอกสาร ทำอาหารเย็น ไปจ่ายตลาด ไปอาสาสมัครช่วยเหลือองค์กรต่าง ทำคุกกี้ช่วงวันหยุด ฯลฯ คือมันเป็นสิ่งที่ควรทำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ทำให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้เป็นจริงขึ้นมาเลย เราทำสิ่งที่เกลียดเพราะรู้สึกว่าควรจะทำ ซึ่งมันกลับดึงเวลาที่มีค่าของเราให้หายไป กินพลังงานอันจำกัด แทนที่จะทำสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เราถึงเป้าหมาย
สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการทำสตาร์ทอัพก็คือว่าเราต้องวางงานออกมาให้เป็นระบบ การถ่ายโอนงานให้คนที่มีความสามารถและดูแลในส่วนของ “H” กับ “S” ได้ถือเป็นการดึงเวลากลับคืนมาให้ตัวเองและได้ทำในสิ่งที่ต้องทำมากกว่า มีประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเอง แน่นอนว่าการถ่ายโอนงานให้คนอื่นนั้นเสียเงินเพิ่มขึ้น แต่มันก็ช่วยทำให้เราได้โฟกัสในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของเราจริงๆ
บอก “ไม่” สำหรับสิ่งที่คุณไม่อยากทำหรือทำไม่ได้ แน่นอนว่าบางครั้งมีเพื่อนหรือคนรู้จักชวนไปสังสรรค์ทำนู้นทำนี่ เมื่อก่อนอาจจะรู้สึกว่าควรจะ (“S”) ไปทั้งที่ไม่ได้ชอบ (“H”) แต่นี่คือสิ่งที่เราควรเปลี่ยน การบอกว่าไม่บางทีจะรู้สึกแปลกๆในตอนแรก แต่มันจะง่ายขึ้นและทำให้คุณโฟกัสสิ่งที่เป็นเป้าหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่การบอกว่าไม่ก็ควรมีเหตุผล บอกให้ชัดเจนไปเลยว่าคุณจะไปทำอะไร อย่าไปโกหกเพราะไม่มีประโยชน์ คนอื่นจะเคารพในการตัดสินใจและคุณก็ไม่ได้ปฏิเสธเพราะไม่ชอบขี้หน้าหรืออะไร
เราต้องรับผิดชอบต่อเวลาของตัวเอง เป้าหมายของตัวเราเองด้วย (ผมจึงไม่ค่อยโอเคเวลานัดคนอื่นแล้วตัวเองมาสายจะรู้สึกผิดเพราะรู้ว่าเวลามีค่าและเขาไม่ควรต้องมานั่งรอ กลับกันถ้านัดแล้วอีกฝ่ายมาสายก็ควรมีเหตุผลที่ดีกว่าแค่รถติด) การไม่ปฏิเสธแต่แรกแล้วสุดท้ายกลับทำไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น
กลับไปที่ไอเทม “P” กับ “G” อีกครั้งแล้วดูอีกทีว่ามันยังควรอยู่ในกลุ่มนี้ไหม อันไหนที่อยู่ในกลุ่ม “H” กับ “S” แล้วโอนงานให้คนอื่นได้ก็โอน อันไหนลบได้ก็ควรเลิกไปเลย อันไหนที่ลบแล้วรู้สึกโล่งก็จัดการก่อน อันไหนที่ควรบอก “ไม่” ก็ให้รีบจัดการ
“เวลาเป็นเงินเป็นทอง” คำพูดนี้ยังเป็นจริงเสมอ มันมีค่ามากแต่เรากลับใช้มันอย่างไม่เห็นคุณค่า ใช้ไปกับสิ่งที่เราเกลียดและไม่ได้อยากทำจริงๆ ลองคิดดูว่าเวลาเหล่านี้สามารถเอากลับมาใช้กับครอบครัว คนรัก หรือลูก จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเราขึ้นไปอีกมากแค่ไหน หรือเอาไปใช้ทำสิ่งที่ทำให้เราขยับเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้นไม่ดีกว่าเหรอ? สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้สึก “ยุ่ง” และเครียดอยู่ตลอดเวลา รู้สึกเหมือนชีวิตต้องทำนู้นทำนี่เต็มไปหมด
เชื่อว่าเป้าหมายปีใหม่ของหลายคนคงมี “ดูแลตัวเองมากขึ้น” การทำลิสต์และวิเคราะห์สิ่งที่เราทำในแต่ละวันนั้นนอกจากจะช่วยให้มีเวลาดูแลตัวเองมากขึ้นจริงๆแล้ว ยังได้ใช้มันกับเป้าหมายอื่นๆด้วยจากการ “หยุดทำ” สิ่งที่ไม่จำเป็น