11 เคล็ดลับเพื่อหยุดคิดมาก
คุณสมบัติความเป็นผู้นำเรียกร้องให้เราต้อง มีความมั่นใจ มีความเด็ดขาด และคิดทุกอย่างให้เร็ว แต่ในคุณสมบัติที่ถูกเรียกร้องนี้อาจทำให้เกิด “การคิดมาก” ในทุก ๆ การตัดสินในสถานการณ์ ความกังวลเกี่ยวกับทุก ๆ การเคลื่อนไหว ณ เวลานั้น เวลาคิด เวลาทำ เวลาไตร่ตรอง และเวลาเดินไปข้างหน้าเรื่อย ๆ
หยุดกังวล เพื่อเติบโต
การคิดมากทำให้เราใช้เวลาในการคิดมากเกินไป เราจมปลักอยู่กับความคิด และเปลี่ยนการไตร่ตรองในเชิงบวกให้กลายเป็นความกังวลที่บั่นทอนจิตใจ ไม่เพียงแต่ไม่เคลื่อนเราไปข้างหน้า แต่ยังทำให้เราถอยหลังลง

และนี่คือเทคนิคที่ Scott Mautz (นักพูดสร้างแรงบันดาลใจทางธุรกิจ) แบ่งปัน 11 หนทางเพื่อขจัดการคิดมาก
- 1. เปิดประตูใหม่เมื่อมีข้อมูลใหม่มาเคาะเท่านั้น
การคิดมากไป เกิดขึ้นเมื่อเราทบทวนการตัดสินใจที่เราทำ จงปฏิเสธความคิดและหยุดคิดทันทีเมื่อได้ตัดสินใจทำลงไปแล้ว และทบทวนสิ่งที่คุณได้ตัดสินใจไปแล้วก็ต่อเมื่อคุณได้รับข้อมูลใหม่เท่านั้น
- 2. รู้ว่าการคิดมากกับการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
การใคร่ครวญอย่างต่อเนื่องและทบทวนสถานการณ์ ทำให้ “ความเป็นไปได้” มักจะปลอมตัวเป็น “การแก้ปัญหา” มันจะทำให้คุณรู้สึกเหมือนคุณกำลังทำสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่ คุณแค่หมุนเป็นวงกลม อย่าทำเหมือนว่ามันเป็นการแก้ปัญหา แล้วเร่งไปข้างหน้า
- 3. จำกฎ 90-10
90 เปอร์เซ็นต์ควรมาจากการยอมรับตนเองและการเห็นคุณค่าในตนเอง และเพียง 10 เปอร์เซ็นต์จากการตรวจสอบภายนอกเป็นครั้งคราวที่เราทุกคนต้องการ คนที่คิดมาก มักคิดบิดเบือนสูตร แม้กระทั่งคิดเหมือนว่า 90% ของคุณค่าของพวกเขามาจากสิ่งที่คนอื่นคิดหรือพูด ดังนั้นพวกเขาจึงกังวล ซึ่งที่จริงแล้ว คุณเดาเอาเอง — คิดมากไปเองทั้งนั้น
- 4. ตั้งสมมติฐานว่ามันจะออกมาดี
คนที่คิดมากมักจินตนาการสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป เพราะอะไร? เพราะพวกเขากำลังคาดเดาบางว่ามีเจตนาไม่มีซุกซ่อนอยู่ เช่น คนอื่นอาจมองมาแล้วคิดว่านี่มันไม่ดี ใครบางคนต้องการให้มันพัง หรืออาจเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ผิดพลาด เมื่อคุณพบว่าตัวเองกำลังคิดแบบนี้ ให้เปลี่ยนสมมติฐานของคุณไปเป็นสิ่งที่คุณกำลังอ่านเป็นเจตนาดีหรืออย่างน้อยก็เป็นกลาง เพราะส่วนใหญ่แล้วมันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ
- 5. โอบกอดความไม่รู้ไม่ชี้
คุณไม่รู้อนาคตได้ คุณไม่สามารถอ่านใจใครได้ และคุณไม่สามารถรู้ทุกอย่างได้ ดังนั้นอย่าพยายาม การคิดมากขึ้นไม่ได้เปิดใช้งานลูกบอลพยากรณ์
- 6. โอบรับความไม่แน่นอน
เมื่อเราไม่รู้อะไรบางอย่าง เรามักจะเติมคำในช่องว่าง บ่อยครั้งด้วยการสันนิษฐานว่ามันห่วย เพราะอะไร? พวกเราหลายคนค่อนข้างจะโอบรับการไม่มีความสุขมากกว่ายอมรับความไม่แน่นอน
คำสอนของศาสนาพุทธ พูดถึงการจัดการกับความไม่แน่นอน นั่นก็คือ OAR : Observe สังเกตความไม่แน่นอน อย่าโต้ตอบกับมันมากเกินไป Acknowledge ยอมรับการมีอยู่ของความไม่แน่นอน และยอมรับว่าความไม่เที่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ Realize ตระหนักว่าความไม่แน่นอนนำมาซึ่งประโยชน์ เช่น การปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่น
- 7. แทนที่จะคิดว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า….” ด้วย “เราจะเห็น….”
คนที่คิดมากมักจะถามตัวเองว่า “จะเกิดอะไรขึ้น” ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่มีทางตอบได้ หากคุณจับได้ว่าตัวเองถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น” ให้เปลี่ยนไปคิดว่า “เราจะเห็น” ให้ไว เพราะนี่คือวิธีการย้ายจากการอัมพาตทางความคิด ไปสู่การวิเคราะห์เพื่อการยอมรับ
- 8. ออกไปข้างนอกและเล่น
ด้วยวิธีนี้ หมายความว่าคุณต้องหยุดใช้เวลาในหัวของคุณ แล้วออกไปข้างนอก เชื่อมต่อกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ สนุกไปกับมัน
- 9. คิดเป็นตัวเลข
การคิดมากจะมาพร้อมกับความกังวลมากเกินไป แน่นอนว่าไม่มีใครอยากประสบพบเจอเหตุการนี้ แต่ถามตัวเองดูสิว่า “ความน่าจะเป็นที่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นจริงเป็นเท่าไหร่?” อัตราต่อรองไม่สูงมากอยู่แล้ว
- 10. หยุดวางกรอบสิ่งที่ไม่ธรรมดาว่ามันคือหายนะ
ข้อนี้มีความเกี่ยวข้องกับข้อ 9 เราต้องหยุดใช้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เปลี่ยนให้เป็นข้อสรุปที่น่าตั้งคำถาม หยุดสร้างภูเขาจากจอมปลวก บันไดเลื่อนแบบนี้ไม่พาเราขึ้นไปอัตโนมัติเหมือนในห้างตรง
- 11. ประเมินผลกระทบที่แท้จริงหากเกิดการผิดพลาด
เรามักจะรู้สึกว่าจำเป็นต้องคิดให้เยอะ ๆ เพราะเรากลัวการทำผิด มันอาจจะสมเหตุสมผลที่จะคิดใหม่หากคุณวางแผนที่จะกระโดดมอเตอร์ไซค์ข้ามแกรนด์แคนยอน หรือว่ายน้ำกับฉลามขาวตัวใหญ่ แต่ถ้าคุณคิดมากเกินไปในการตัดสินใจของคุณในการประชุมเมื่อวานนี้? มันไม่จำเป็นต้องคิดเลย
ลองถามตัวเองดูอีกครั้ง ในช่วงเวลาที่คุณคิดมาก ต้นทุนที่แท้จริงของการทำผิดคืออะไร เมื่อคุณลดเดิมพันได้ คุณก็จะสามารถเพิ่มความสามารถในการทำให้จิตใจปลอดโปร่งได้
ดังนั้นอย่าคิดมาก ใช้แรงบันดาลใจจากบทความนี้และลงมือทำมัน โดยไม่ต้องหันกลับมามอง
ที่มา : https://getpocket.com/explore/item/11-mental-tricks-to-stop-overthinking-everything