บางครั้งก็เจอคำถามที่ ‘ตอบยาก’ จะเรียกว่าเป็น ‘Trick Questions’ หรือคำถามที่ใช้วัดหลักแนวคิดหรือแสดงตัวตนของตัวเองออกมา
ครั้งแรกที่ต่ายพบกับน้องเอิน – สาธิตา สลับแสง คือเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน ที่จำได้แม่นเลยก็เพราะว่าภาพของ Facebook เพิ่งขึ้นมาแจ้งเตือนความจำไม่นานมานี้เอง ตอนนั้นต่ายเพิ่งเปิดบริษัทช่วงแรก ๆ และได้ยินเรื่องราวของร้าน Barefoot พอดี เลยสนใจว่าอยากไปลองนั่งคุย จำได้ว่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเราก็ทักทายคุยกันเสมอ ครั้งนี้ต่ายมีโอกาสได้วนเวียนกลับมาเจอน้องเอินอีกครั้งหลังจากผ่านมรสุมมามากมาย ร้านพาสต้าเส้นสดแห่งนี้ย้ายร้านใหม่มาอยู่ที่เวิ้งเหล็กแดง และขยับขยายจากแค่ร้านเล็ก ๆ ที่มีไม่กี่ที่นั่งจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหลายสิบที่นั่ง เปิดคลาสสอนทำอาหาร แบบเป็นกลุ่มและยังไม่พอยังทำคลาสสอนออนไลน์อีกด้วย
ถ้าพูดถึงร้านส้มตำในเชียงใหม่ ชื่อของร้าน “เต๋อตำยำระเบิด” นั้นคงติดอยู่หนึ่งในนั้น ร้านส้มตำที่ถือว่าเป็นร้านที่มีคนถกเถียงกันตลอด บางคนก็บอกตำอร่อยมาก บางคนก็บอกพ่อค้าพูดไม่เพราะไม่อยากไป บางคนก็บอกก็ไปกินส้มตำไม่เห็นต้องสนใจ บางคนก็บอกบรรยากาศไม่ชวนให้ไปนั่งเลย ฯลฯ คืออย่างที่บอกว่าเป็นร้านส้มตำร้านหนึ่งที่คนมักจะพูดถึงเสมอไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม มีดราม่ามาเสมอ แต่ว่าถ้าพูดถึงรสชาติแล้ว ส่วนตัวต่ายชอบฝีมือการตำของเต๋อพอสมควร มันจัดจ้านและถึงพริกมาก และนั้นคือเหตุผลที่ว่าทำไมวันนี้ต่ายถึงอยากมาชวนคุณเต๋อคุยถึงเรื่องราวการทำงาน ความท้าทาย และประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดเจ็ดปีของ เจ้าของร้านเต๋อตำยำระเบิด เชียงใหม่ ที่คิดว่าไม่มีใครไม่รู้จัก หรือถ้าพูดถึง Top 5 ร้านยำ เต๋อตำยำระเบิดก็ต้องติดอันดับทุกครั้งไป
คุณอาร์ต – คุณสิโรตม์ จิระประยูร เจ้าของร้าน Book Smith คุณอาร์ตเล่าให้ต่ายฟังว่าก่อนจะมาเป็นร้าน BookSmith ตัวคุณอาร์ตเองเป็นกรรมการผู้จัดการเอเชียบุ๊คมาก่อน มาเปิดร้าน BookSmith เมื่อปี 2012 คุณอาร์ตเล่าว่าตัวคุณอาร์ตเองอยู่ในวงการธุรกิจหนังสือมาตั้งแต่ต้น จนภายหลังทำงานที่นั่นมาสักระยะหนึ่งก็อยากทำธุรกิจ ก็เลยมองดูธุรกิจหนังสือ
คุณไหม ปิยะกมล วาณิชย์มงคล เจ้าของร้านเชนู เดือนพฤศจิกายนนี้ก็จะครบปีที่ 5 แล้ว คุณไหมเล่าว่าด้วยคอนเซปต์ของเชนูเองตอนแรกอยากจะให้เป็นร้านเบเกอร์รี่สไตล์ฝรั่งเศส ตอนแรกที่ทำก็ได้ทดลองหลายเมนูไม่ว่าจะเป็นพวก Sourdough(ขนมปังที่ผ่านกระบวนการหมักด้วยยีสต์ธรรมชาติ มีรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย) แต่ทีนี้มันก็ไม่ได้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในขณะนั้น พอดีกับที่คุณไหมได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ที่เคารพ เขาก็แนะนำว่าให้ลองทำครัวซองต์ดูไหม เพราะว่าเป็นขนมที่คนไทยรู้จัก ทานง่ายและปรับเป็นเมนูอื่นได้อีก
เมื่อกล่าวถึงโยเกิร์ต สิ่งที่เรามักคิดถึงคือโยเกิร์ตถ้วยสิบกว่าบาทที่วางอยู่บนชั้นในร้านสะดวกซื้อ รสชาติหวาน ๆ เปรี้ยว ๆ ถูกปากเด็กตัวน้อยทานเหมือนกับเป็นขนมมากกว่าที่จะเป็นมื้อของว่างหรือมื้ออาหารเลย แต่ที่จริงแล้วโยเกิร์ตในหลาย ๆ ประเทศถือเป็นส่วนประกอบของอาหารหลักและทานกันจริงจังในมื้ออาหารเลยทีเดียว
ในยุคของตลาด E-Commerce นั้นเราสามารถหาของได้ทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า ยา อุปกรณ์อิเคโทรนิคที่ไม่รู้จบ แต่ว่าวันหนึ่งต่ายก็มีโอกาสได้ไปเจอร้านขายของร้านหนึ่งบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งต้องบอกว่าพอเข้าไปในเพจก็จะรู้สึกเหมือนมีคำถามอยู่ในหัวตลอดเวลาว่า “อิหยังวะ” เกิดอะไรขึ้น นี่มันคือสินค้าอะไร อะไรเนี้ย ซื้อมาทำไม ยกตัวอย่างง่าย ๆ กิ๊ฟต้นอ่อน ที่เป็นกิ๊ฟติดผมแล้วเหมือนมีต้นอ่อนต้นไม้งอกออกมาข้างบน หรืออย่าง ผ้าห่มไก่ย่างหนังกรอบ ที่หน้าตาเหมือนอย่างชื่อบ่งบอกคือไก่ย่างหนังกรอบ ที่มาในรูปแบบของผ้าห่ม….มันคือสินค้าอิหยังวะที่คนเข้าไปก็จะขำ จะหัวเราะ ยิ้มตาม และที่สำคัญเติบโตได้อย่างดีอีกด้วย ตอนนี้มียอดไลค์เพจกว่า 8 หมื่นคนเข้าไปแล้ว
คุณเซ็ต นฤภัทร พญาชัย CEO&Co Founder ของ I GEAR GEEK ที่ปีนี้ก็ก่อตั้งมาได้ 3 ปีแล้ว I GEAR GEEK ถือได้ว่าเป็นสตาร์ทอัพตัวหนึ่งที่เกิดจากการที่คุณเซ็ตไปรวมตัวกับ Founder อีกหลายๆท่านที่อยากจะทำ software house และ start up โดยตัวตนของ I GEAR GEEK จะเป็นซอฟต์แวร์เฮ้าท์ก่อนแล้วในขณะเดียวกันก็ทำโปรเจ็คสตาร์ทอัพของตัวเองไปด้วย แต่ต้องบอกว่างานของบริษัทซอฟต์แวร์เฮ้าท์นั้นเป็นอะไรที่น่าสนใจ เพราะหลายๆคนอาจจะมองว่าแค่เอาโปรแกรมเมอร์มารวมๆกันและเขียนโปรแกรมให้ลูกค้าก็เสร็จแล้ว แต่ที่จริงแล้วมันมีอะไรที่ลึกซึ้งกว่านั้นมาก
ต่ายรู้จักกับคุณฟินซ์ช่วงปลายปี 2019 ในฐานะ Creator ของ CatDumb แต่วันนี้ต่ายได้มาเจอกับคุณฟินซ์ในฐานะเจ้าของแบรนด์รองเท้า Finch
เมื่อประมาณปีก่อนที่โควิดเริ่มระบาดตอนแรก ๆ ต่ายกำลังพยายามมองหาตลาดเพื่อขายผลิตภัณฑ์การเกษตรจากฟาร์มถึงบ้านลูกค้าโดยตรง เพื่อนต่ายคนหนึ่งเลยแนะนำว่าให้ลองติดต่อน้องบุ๋มบิ๋ม เพราะเห็นน้องเขาชอบโพสต์ขายผักสดจากสวนในกลุ่มกาดหมั๊วซั่วแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกโดยชาวบ้านใน โครงการร้อยใจรักษ์ ที่ อ.แม่อาย ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ จ.เชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง เป็นอดีตพื้นที่สีแดง ทางผ่านยาเสพติด ตะเข็บชายแดนพม่า ซึ่งชาวบ้านเมื่อก่อนไม่มีทางเลือกมากนักในเรื่องของอาชีพการงาน จนมีโครงการย่อยของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่เอาต้นแบบของดอยตุงมาพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ น้องบุ๋มบิ๋มเข้ามารับหน้าที่ผู้ดูแลและพัฒนาโครงการแห่งนี้ สร้างอาชีพให้กับชาวบ้านเชิงเกษตรและท่องเที่ยว โดยให้นำความรู้และแนวคิดจากหลายๆแห่งมาพัฒนาสังคม ให้มีงานที่ดีขึ้น รายได้มากขึ้น ถูกกฎหมาย และไม่ต้องพึ่งพาการค้ายาเสพติดอีกต่อไป ต่ายต้องบอกเลยว่าพอได้ยินเรื่องราวของนองบุ๋มบิ๋มก็อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า “ทำไม?” ทำไมถึงต้องโครงการแห่งนี้ ทำไมถึงเอาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงขนาดนี้ ความฝัน ความหวัง จุดประสงค์ ความต้องการของน้องคืออะไร และนั้นคือเหตุผลว่าทำไมต่ายถึงชวนน้องมานั่งคุยกันถึงที่มาที่ไปและส่ิงที่เกิดขึ้นจนกลายมาเป็นเจ้าหน้าที่โครงการในพื้นที่ทุรกันดารแห่งนี้ได้