ประวัติผ้าอนามัยฉบับย่อและภาระที่ควรถูกแบ่งเบา
ประจำเดือนเป็นเรื่องทั่วไปของผู้หญิงกลุ่มคนผู้มีมดลูกทั่วโลก ประจำเดือน เกิดจากภาวะที่เนื้อเยื่อภายในมดลูกหลุดลอกออกมา ซึ่งเป็นผลจากเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ในทุก ๆ รอบเดือนของร่างกาย เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ร่างกายจึงปรับสภาพกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เยื่อบุมดลูกที่สร้างมารองรับตัวอ่อนหลุดออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือนนั่นเอง
- ประวัติผ้าอนามัย
thestandard ยกเรื่องราวอดีตก่อนที่จะมีผ้าอนามัยจำหน่ายของผ้าอนามัยมาจากหนังหนังสือ Flow: The Cultural Story of Menstruation ที่เขียนโดยสองสตรี เอลิสซา สไตน์ (Elissa Stein) และซูซาน คิม (Susan Kim) มาเขียนสรุปไว้ว่า
- “ผู้หญิงสมัยอียิปต์ใช้เยื่อไม้ปาปิรุส (Papyrus)
- ผู้หญิงกรีกและโรมันใช้ผ้าสำลี (Lint) พันรอบแกนไม้เล็กๆ
- ผู้หญิงญี่ปุ่นใช้กระดาษนุ่มๆ เช่น กระดาษสา
- ผู้หญิงพื้นเมืองอเมริกัน (Native American) ใช้ผิวหนังควายห่อหุ้มด้วยหญ้ามอส
- ผู้หญิงไทยนิยม ‘ขี่ม้า’ นั่นคือใช้ผ้าขี้ริ้วหรือผ้าซิ่นเก่านุ่มทบพันหลายชั้นลอดระหว่างขา คาดด้วยเข็มขัดหรือเชือก นอกจากนั้นยังใช้เสื้อผ้าเก่า ผ้าขี้ริ้ว ผ้าฝ้าย ขนสัตว์ ผ้าทอ ไหมพรมถัก หญ้าแห้ง มาเป็นแผ่นซึมซับ”
ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โลกพัฒนาผ้าอนามัยมาตามครรลองของทุนนิยม เนื่องด้วยผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ “จำเป็น” สำหรับกลุ่มคนที่มีมดลูกทั้งสิ้น พัฒนาการของผ้าอนามัยเชิงพาณิชย์เริ่มต้นมาตั้งปลายศตวรรษที่ 1890s’
ผ้าอนามัยแบบแรกที่ผลิตออกมาสำหรับธุรกิจ ใช้ชื่อว่า “Lister’s Towels” ในปี ค.ศ.1896 โดยมี บริษัท Johnson & Johnson เป็นผู้บุกเบิกผ้าอนามัยที่ผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อจัดจำหน่ายขึ้นมาเพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิง โดย Lister’s Towel เป็นผ้าอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งแบบแรกของโลก ได้ใช้ชื่อของ ดร.โจเซฟ ลิสเตอร์ ผู้คิดค้นและพัฒนา (johnson&johnson) แต่ว่าในช่วงแรกผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเขินอายที่จะซื้อ เนื่องด้วยชื่อของแบรนด์ต่อท้ายด้วยคำว่า “ผ้าอนามัยสำหรับคุณสุภาพสตรี (Sanitary for ladies) ที่กล่องและในการโฆษณา ทำให้ในปี 1920 Lister’s Towels เปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เป็นกล่องเรียบๆไม่โชว์ข้อความใดๆนอกจากชื่อแบรนด์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Nupak”
หลังจากนั้นผ้าอนามัยก็มีการแข่งขันกันขึ้นมาเรื่อยๆโดยในปี 1919 ก็เกิดบริษัท Kotex ขึ้นมาโดยบริษัท Kotex ได้ผลิตผ้าอนามัยที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าซับเลือดของทหารในสงคราม
ต่อมาในช่วงปี 1970 Kotex ก็เป็นเจ้าแรกที่ทำการผลิตและจัดจำหน่วยอนามัยแถบกาว ซึ่งผ้าอนามัยแบบแทบกาวนี้ก็ได้ถูกพัฒนาและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน (จนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่คำว่าโกเต๊ก = ผ้าอนามัยเลยทีเดียว)
ในช่วงแรกผ้าอนามัยจะทำมาจากผ้าหรือสำลีที่สามารถที่จะซับของเหลวได้มากๆจึงทำให้ในอดีตผ้าอนามัยจะมีขนาดที่หนา
จนกระทั่งในปี 1980 ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ค้นพบกับสารดูดซึมจำพวกสาร Super Absorbent Polymer ที่ดูดซับน้ำได้ในปริมาณมาก เช่น สารโพลีอะครีลิกแอซิด (polyacrylic acid) สารโซเดียมโพลีอะครีเลต (sodium polyacrylate) ทำให้ต่อมาในช่วงปี 1980 ผ้าอนามัยมีขนาดบางลง
- ภาระที่ควรถูกแบ่งเบา
จากประวัติคร่าวๆๆที่ยกมาจะเห็นได้ว่าตั้งแต่เกือบร้อยปีที่ผ่านมา “ผ้าอนามัย” ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นสินค้าทางการค้าโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น “ผู้มีมดลูก” เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติของกลุ่มคนที่มีมดลูก และเป็นการภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของการเกิดเป็น “ผู้มีมดลูก”
สำหรับประเทศไทย เคยมีข้อถกเถียงเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยมาตั้งแแต่ช่วงปี 2562 และถูกรื้อกลับมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2564 จากการที่มีการประกาศราชกิจจาว่าผ้าอนามัยแบบสอดเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ ต่อมาโดยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.2021 กรมสรรพสามิต-กรมศุลกากร-รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงตรงกัน ว่า “ผ้าอนามัยแบบสอด” แม้จะถูกจัดว่าเป็นเครื่องสำอางค์ แต่ก็เป็นสินค้าควบคุม ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น จึงไม่มีผลให้ขึ้น ‘ภาษีผ้าอนามัย’ ถึง 30% ตามที่ประชาชนกังวลในโซเชียลมีเดียแต่อย่างใด (itax.in.th)
อย่างไรก็ตามประเทศแรกที่เลิกแสวงหาผลประโยชน์จากรอบเดือน คือ ประเทศเคนยา โดยยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยในปี ค.ศ.2004 ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกอย่างออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผ้าอนามัย เพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้หญิง และล่าสุดนิวซีแลนด์ประกาศให้ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่เป็นสวัสดิการของนักเรียน โดยประเทศนิวซีแลนด์ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีสวัสดิการดังกล่าว ก่อนหน้านี้สกอตแลนด์เป็นประเทศแรกที่มีนโยบายผ้าอนามัยฟรี
ทิ้งท้าย :
ในปัจจุบันเรื่องราวของความเท่าเทียมทางเพศและการต่อสู้ระหว่างกลุ่มเรียกร้องความเท่าเทียมของสตรีที่กำลังขับเขี้ยว ทุบตีกำแพงระบบปิตาธิปไตย (ชายเป็นใหญ่) ทำให้เรื่องธรรมดาๆอย่าง “ภาษีผ้าอนามัย” กลายเป็นเรื่องที่ต้องถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย และยังคงเป็นสิ่งที่สังคมต้องถกเถียงกันว่า สรุปแล้ว ควรหรือไม่ควรอย่างไรในการเก็บภาษีจากความเป็นผู้หญิง
อ้างอิง :
https://www.pobpad.com/ประจำเดือน
https://www.cosmenet.in.th/cosme-intrend/20418
https://ourstory.jnj.com/sanitary-napkins-ladies
https://www.silpa-mag.com/history/article_42842