The Future of Food : ต่อจากนี้อีก 30 ปี เราจะมีอะไรให้กินบ้าง?
จำนวนประชากรของโลกในตอนนี้อยู่ที่ราวๆ 7.6 พันล้านคน ในตอนนี้เรายังมีอาหารเพียงพอสำหรับโลกใบนี้ แต่สิ่งนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าประชากรของโลกจะเพิ่มเป็น 11.2 พันล้านคนภายในปีก 2100 โดยที่ UN รายงานว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะมาจากเพียง 9 ประเทศของโลก : อินเดีย, ไนจีเรีย, คองโก, ปากีสถาน, เอธิโอเปีย, แทนซาเนีย, อเมริกา, ยูกันดา และ อินโดนีเซีย โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรนั้นสูงกว่าในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง และลดลงในประเทศที่รายได้ประชากรสูงขึ้น
รายได้นั้นเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศที่มี่รายได้ปานกลางอย่างอินเดียและจีน โดยรวมประชากรของทั้งสองประเทศนี้มีมากกว่า 1/3 ของโลก ถ้าเรารวมแอฟริกาเข้าไปอีก 1.3 พันล้านคน แค่นี้ก็ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเข้าไปแล้ว เมื่อนำแพทเทิร์นการเติบโตนี้มาใช้ ในอนาคตแอฟริกาและเอเชียประชากรรวมกันจะมีมากกว่าครึ่งค่อนโลกอย่างแน่นอน โดยเมื่อรายได้สูงขึ้น ความต้องการของอาหารที่คุณภาพดีขึ้นก็เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย สิ่งนี้รวมไปถึงเนื้อสัตว์, dairy product, ผักและผลไม้สด
ข้อจำกัด
ระบบอาหารของเราในเวลานี้ไม่สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของความต้องการโดยรวม โดยมีสองประเด็นหลักๆที่ทำให้เป็นแบบนั้น อย่างแรกคือเราจะต้องผลิตอาหารให้มากขึ้นในระบบเดิมที่ตอนนี้รองรับปริมาณคนอยู่น้อยว่า 30% อย่างที่สองก็คือการทำเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมอาหารนั้นส่วนมากแล้วเป็นระบบที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ถ้าเราต้องการอาหารที่พอเพียงในอนาคตเราอาจจะต้องมานิยามกันใหม่ถึงคำว่า “อาหาร” ว่าคือออะไร ได้มาจากไหน และเราต้องกินกันยังไงบ้าง และอีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าตอนนี้มันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มประเทศยากจน

กระบวนการผลิตอาหารนั้นเป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างความบอบช้ำให้กับสิ่งแวดล้อม แต่มันก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะมนุษย์ก็ยังต้องการอาหารเพื่อยังชีพ บางคนอาจจะบอกว่าให้งดทานเนื้อสัตว์ไปเลย แต่ระบบผลิตเนื้อสัตว์เองก็สามารถทำให้ยั่งยืนและควบคุมได้ อย่างเช่นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงตามพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกพืชพันธ์ได้ แต่เนื้อสัตว์ที่เราทานอยู่นั้นมันเป็นเนื้อที่ไม่ได้มาจากพื้นที่แบบนั้น แต่ในบางส่วนของโลกอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เลี้ยงสัตว์ที่เล็มหญ้าเพราะพื้นที่เอื้ออำนวย แต่นอกเหนือจากความเชื่อที่ว่าจะต้องงดทานเนื้อวัวสัตว์ใหญ่ ที่จริงแล้วระบบการผลิตเนื้อไก่กลับมีมากกว่าชิ้นอื่นทั้งหมดเลย
การสร้างพื้นที่ปลูกพืชต่างๆนั้นค่อนข้างทำลายล้าง เพราะอย่างแรกเลยคือระบบนิเวศน์ที่เคยมีอยู่จะถูกยกออกไปทั้งหมดในทันที ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หญ้า ป่า หนองบึง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะถูกทำลายลงไปเพื่อการเริ่มระบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ปีแล้วปีเล่าทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินแบริเวณนั้นถูกนำไปใช้จนหมด
เรื่องที่น่าเศร้าก็คือว่า 1/3 ของอาหารบนโลกใบนี้ถูกโยนลงขยะ ในประเทศที่ร่ำรวยนั้นสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค ในประเทศที่ยากจนเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นในฟาร์มที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเก็บรักษาอาหาร และไม่ได้วางแผนเรื่องการจำหน่ายสินค้าให้กับตลาดดีพอที่จะขายสินค้าตนเองให้หมดก่อนจะเน่าเสีย
เราไม่สามารถที่จะผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในพื้นที่ขนาดที่เท่าเดิม เช่นกันกับน้ำดื่มสะอาดและพื้นผิวดินที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับการเพาะปลูก เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิตนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและควรเป็นประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อทดลองและงานวิจัย เพราะฉะนั้นด้วยสิ่งที่เป็นอยู่ในเวลานี้ความเป็นไปได้คือเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของอาหารที่เราคุ้นเคย จากประเทศร่ำรวยจากฝั่งตะวันตกไปจนกระทั่งประเทศยากจนและเอเชียด้วยเช่นเดียวกัน
แล้วเราจะกินอะไรกัน?
มันหมายความว่าในการที่จะเลี้ยงคนอีก 3 พันล้านคนและผู้คนที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ลงในการผลิตอาหาร บางสิ่งจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว นักวิทยาศาสตร์นั้นกำลังทำงานอย่างหนักในการพัฒนาสายพันธ์พืชที่เราคุ้นเคยให้ทนต่ออากาศอันแห้งแล้งหรือภาวะน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น แต่ถึงแม้อย่างนั้นก็ตามที เราน่าจะได้เห็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบนจานอาหารของเราเช่นกัน
แล้วอะไรหล่ะที่จะต่างออกไปจากตอนนี้?
คาร์โบไฮเดรตชนิดใหม่
มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้มากว่าในอนาคตเราจะเห็นระบบอาหารที่ไม่ได้พึ่งพาพืชสามัญที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในเวลานี้ ตอนนี้ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าว คือพืชที่สำคัญอันดับต้นๆทั่วโลก (มันฝรั่งก็เช่นกันแต่อันนี้ปลูกได้ในพื้นดินที่ไม่ต้องรับการดูแลมากเท่าไหร่) และพวกมันต้องการดินที่ค่อนข้างดี ร้อนเกินก็ไม่ดีต่อการเก็บเกี่ยว มีทางเลือกอีกอย่างที่เติบโตได้ถึงแม้สภาพแวดล้อมจะไม่เอื้ออำนวยมากเท่าไหร่อย่าง ควีนัว (quinoa) ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับอากาศที่หนาวเหน็บบนยอดเขาหรืออากาศปานกลางในหุบเขา ควีนัวยังสามารถปลูกได้ในดินที่ไม่ดีมากไปจนถึงดินปกติทั่วไป อากาศร้อนหรือเย็น แถมไม่พอยังดีต่อสุขภาพกว่าพวกธัญพืชชนิดอื่นๆเพราะมีโปรตีนและสารอาหารที่เยอะกว่า
เราอาจจะเห็นการเพิ่มขึ้นของพืชจำพวกแป้งที่สามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีนักอย่างมันสำปะหลังและข้าวฟ่าง ซึ่งนี่เป็นทางเลือกของอาหารในพื้นที่อย่างแอฟริกาและเอเชีย ถั่วเหลืองก็อยู่ในนั้นด้วยเพราะมันก็เป็นแหล่งของโปรตีนสำคัญสำหรับหลายๆคนอยู่แล้วในตอนนี้ และน้ำมันถั่วเหลืองก็ถือว่าเป็นน้ำมันสำหรับการประกอบอาหารที่ขาดไม่ได้ ส่วนที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน (เรียกว่า Soy Cake) ก็นำไปใช้เป็นอาหารสำหรับปศุสัตว์และเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารที่เลี้ยงวัวอีกด้วย

อาหารจากท้องทะเล
การที่เราสามารถผลิตแหล่งอาหารที่มาจากทะเลได้นั้นสามารถแก้ปัญหาได้อยู่สองอย่าง อย่างแรกคือไม่ต้องการพื้นที่สำหรับการผลิตจากพื้นดินและสองคือไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำจืด แม้ว่าตอนนี้เราจะเจอปัญหาเรื่องขยะที่ไหลสู่ทะเลจากความไม่ดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอของทุกคน แต่สัตว์น้ำจำพวกปลาทั้งเค็มและน้ำจืดในเวลานี้สามารถเติบโตได้ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ได้อย่างไม่ลำบากมากแล้ว ค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารจำพวกนี้อาจจะสูงกว่าอย่างอื่น แต่ก็มีบางอย่างเช่นปลานิลหรือปลาดุกที่ค่อนข้างถูก หรือหอยบางชนิดก็สามารถทำเป็นฟาร์มที่อยู่ตามชายฝั่งเพื่อขายส่งท้องตลาดได้แล้วเช่นกัน ในหลายๆกรณีก็มีการสร้างขอบเขตรอบๆฝั่งเพื่อใช้สำหรับปลาน้ำลึกอย่างแซลมอนในการผลิตจำนวนที่มากขึ้น
สาหร่ายเป็นอีกแหล่งอาหารที่มองข้ามไม่ได้ แม้ว่าจะได้รับความนิยมอยู่ในเอเชียซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั่วโลกก็รู้จักเป็นอย่างดี สาหร่ายที่เรามักเจอก็มีสาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสายใบ (ที่ทำเป็นสาหร่ายโนริ) และ สาหร่ายวากาเมะ นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีแล้วยังเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่นๆอย่าง caregeenan (คาร์ราจีแนน) ที่เป็นสารสร้างความหนืด ใช้ในผลิตภัณฑ์ของหวานท่ีเป็นเจล (desset gel) อาหารสัตว์บรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม (dairy product) และน้ำนมถั่วเหลือง (soy milk)

แมลง
แมลงตัวเล็กๆ (หรือบางทีก็ไม่เล็กนะ) เป็นแหล่งอาหารสำหรับผู้ที่อยู่ในหลายพื้นที่ของโลกใบนี้ ไทยเราก็รับประทานแมลงเป็นเรื่องปกติ ทั้งจิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนไหม หนอนไม้ไผ่ ตัวอ่อนจั๊กจั่น ฯลฯ เราเห็นตามท้องตลาดเขาก็จับไปทอดบ้าง ตำบ้าง แต่ที่อื่นๆใช้วิธีการป่นให้ละเอียดเพื่อสร้างเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผสมในอาหาร เพราะในระดับโปรตีนที่เท่ากันแมลงใช้อาหารน้อยกว่าวัวถึงหกเท่าและน้อยกว่าแกะถึงสี่เท่า แถมยังสร้างมลภาวะในอากาศน้อยกว่าสำหรับการทำฟาร์มแมลงเหล่านี้ แถมยังกินได้ไม่เลือกโดยเฉพาะเศษอาหารที่เหลือทิ้ง

เนื้อจากห้องแลป
นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจับตามองมากในเวลานี้ ในทางวิทยาศาสตร์นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว มันไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจหรือเรื่องใหม่อะไรอีกแล้ว เนื้อตรงนี้มักถูกเรียกว่า “cultured meat” ซึ่งก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้ทีอยากทานเนื้อแต่ก็ไม่อยากไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น แม้ว่าตอนนี้ยังคงราคาแพงและไม่สามารถวางขายได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาเก็ต แต่ก็เหมือนทุกอย่างสำหรับเทคโนโลยีที่จะค่อยๆถูกลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป กลับกันเมื่อการเลี้ยงสัตว์ในที่โล่งหรือการทำฟาร์มและค่าอาหารสัตว์แพงขึ้น ราคาของเนื้อที่ถูกสร้างในห้องแลปก็จะกลายเป็นสินค้าที่ท้องตลาดยอมรับราคาได้

ตอนนี้มีการทำวิจัยมากมายที่พยายามทำให้ระบบทุกอย่างในการผลิตอาหารในตอนนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิอากาศและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นหมายความเราต้องพยายามหาทางปรับตัวในการหาแหล่งอาหารใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นด้วย ระบบการผลิตแต่ละอย่างก็มาพร้อมคุณประโยชน์และโทษในตัวของมันเอง รวมไปถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะต้องตามมาด้วย แหล่งอาหารเหล่านี้น่าจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตอันใกล้