SOPON’S BLOG
2 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จด้านการเงิน
November 28, 2022
สูตรลดน้ำหนัก 4 กิโล ใน 4 สัปดาห์ : ไม่ต้องพึ่งยา แถมยังไปกินชาบูอีกต่างหาก
November 26, 2022
ฟีดแบคที่ดี ไม่ได้ดีเสมอไป : รับมือยังไงเมื่อเจอฟีดแบคหนัก ๆ ตรง ๆ และต้องปรับตัว
November 24, 2022
ปีใหม่ คนเก่า : จะเปลี่ยนตัวเองได้ ต้องรับตัวเองที่ไม่สมบูรณ์ให้ได้ก่อน
November 21, 2022
20 บทเรียนจากนักจิตบำบัดที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น
November 20, 2022
Facebook Twitter Youtube Instagram Medium Bootstrap
SOPON’S BLOG

Type and hit Enter to search

  • Home
  • Topics
    • Featured
    • Self-Improvement
    • Tech
    • Business
    • Thoughts
    • Science
    • Startups
    • Lifehack
    • People
    • Travel
    • Inspiration
  • Podcast
  • About
  • Contact
  • Follow
    • Facebook
    • Twitter
    • Instagram
    • Blockdit
    • Telegram
Self-Development

ในโลกที่มีข้อมูลมากเกินไป เสพยังไงให้พอดี?

sopons
November 13, 2021 2 Mins Read
59 Views
0 Comments

บทความนี้มาจาก Medium ว่าด้วยการไล่ตามความรู้นั้นดี จนกระทั่งมันทำให้เราเสียสมาธิ เราจะเสพข้อมูลอย่างไรให้พอดี

โดยประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ชาติ การเข้าถึงข้อมูลนั้นมีขีดจำกัด และข้อมูลเหล่านั้นก็เหมือนอำนาจ อำนาจขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้าถึงข้อมูลมากแค่ไหน

พระราชาที่ยิ่งใหญ่จะสร้างห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่และตัวหนังสือในสมุดเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่มีมูลค่า 

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ สิ่งที่เคยหายากก็มีมากมาย เรากำลังจมอยู่กับข้อมูล มีหนังสือให้อ่าน มีบล็อกให้ติดตาม และวิดีโอให้ดูมากกว่าที่ใครจะดูได้ตลอดชั่วอายุ เราสามารถที่จะเรียนได้เกือบทุกอย่างด้วยการแตะหรือคลิกไม่กี่ครั้ง

ความสามารถใหม่นี้นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ ตอนนี้แทนที่ข้อมูลจะเป็นสิ่งที่หายาก ความสนใจและความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่สำคัญ และเพิกเฉยต่อสิ่งที่ไม่สำคัญกลับเป็นคุณลักษณะเฉพาะของผู้บรรลุความฝัน

Photo by Jackson Simmer on Unsplash

ด้วยปริมาณข้อมูลที่มากขึ้นเรื่อย ๆ มันแทบไม่มีวี่แววอะไรต่อจากนี้จะง่ายขึ้น โลกกำลังแยกออกเป็นโลกที่บุคคลยอมให้เวลาและความสนใจของพวกเขาถูกควบคุมและจัดการโดยผู้อื่น และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเอง

ความสามารถในการเป็นคนมีสติ (Indistractable) เป็นทักษะที่ยอดเยี่ยม หากไม่มีความสามารถในการปิดกั้นสิ่งรบกวน คุณจะถูกทำให้ต้องใช้ชีวิตตามสิ่งที่คนอื่นกำหนดขึ้นมา

ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนในการเป็นผู้รู้ผู้ตื่น (Master) แทนที่จะเป็นทาส ของข้อมูลที่ล้นเกินไป

  • เปลี่ยนค่าของคุณให้เป็นเวลา

เรียนรู้การใช้ข้อมูล เพื่อเริ่มต้นการกำหนดการตัดสินใจในคุณค่าของคุณ จากนั้นก็เปลี่ยนค่าของคุณให้เป็นเวลา

อะไรก็ตามถ้ามันสามารถถูกพรากไปจากคุณได้ เจ้าสิ่งนั้นก็ไม่มีค่า

การรู้ค่าของสิ่งที่เราทำเหมือนกับดาวนำทาง มันช่วยแก้ไข ส่วนที่เรามักจะใช้ช่วยเรานำทางทางเลือกในชีวิตของเรา รวมทั้งวิธีที่เราใช้เวลาของเรา คุณค่าของเราแบ่งออกเป็นสามส่วนในชีวิต ได้แก่ ตัวเรา ความสัมพันธ์ และงานของเรา

หลังจากที่เราได้รู้คุณค่าที่สำคัญที่สุดแล้ว ให้เราลองเขียนสิ่งที่เราให้ความสำคัญเหล่านั้นไว้ในปฏิทินของ เพราะว่าหากเราไม่วางแผนในการดำเนินชีวิตตามคุณค่าของเรา เช่น การใช้เวลากับเพื่อน ๆ มันก็เป็นไปได้ว่าเราจะไม่ปฏิบัติตาม

Photo by Luke Chesser on Unsplash

คุณอาจต้องการใช้ค่าเดียวกันนี้เพื่อกรองข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับค่าของคุณ อย่าง การอ่านข่าวดาราหรือการปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับหุ้นช่วยให้คุณได้ใช้คุณค่าของคุณอย่าวเต็มที่หรือไม่? ถ้าไม่ก็ให้ตัดแหล่งข้อมูลเหล่านั้นออกจากวันของคุณ

  • กำหนดข้อจำกัด

คนส่วนใหญ่เสพข้อมูลในช่วงเวลาต่างๆ ที่พวกเขามีในแต่ละวัน หรือเมื่อรู้สึกเบื่อ เหงา หรือหนักใจ เรามักเสพข้อมูลที่ไม่จำเป็นเพื่อหลบหนีทางอารมณ์เมื่อเรารู้สึกไม่ดี เราจะบอกตัวเองว่าเรากำลังทำสิ่งที่ดีให้กับตัวเองโดยการอ่านข่าวว่าเป็นวิธีการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิผล แต่ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่เราวางแผนจะใช้กับเวลาของเรา นี่คือการวอกแวกดีๆนี่เอง

ความวอกแวกจะดึงคุณออกจากสิ่งที่คุณตั้งใจจะทำ และฉุดดึงคุณเข้าหาสิ่งที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น

นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคำถามต่อไปหลังจากถามตัวเองว่า “อยากรู้เรื่องอะไร” ตามคุณค่าของคุณ ก็คือ 

 “ฉันต้องการจะรู้มันเมื่อไหร่”

Photo by Thomas Bormans on Unsplash

กำหนดการกำหนดข้อเพื่อจำกัด หลายคนอาจต้องพึ่งพา To do list ยาวๆ และมักจะไม่ทำสิ่งที่พวกเขาบอกว่าจะทำ ทำไมกัน? ก็เพราะว่ารายการสิ่งที่ต้องเหล่านั้น ไม่ได้ทำขึ้นและคำนึงถึงข้อจำกัดด้านเวลา

เราทุกคนมีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ดังนั้นเราต้องตัดสินใจว่าเราต้องการใช้เวลาอย่างไร

  • ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด

หลังจากตัดสินใจว่าอะไรคือสิ่งที่คุณให้คุณค่า และเปลี่ยนมันเป็นช่วงเวลา ต่อมาก็กำหนดข้อจำกัดตามกำหนดการของคุณ ในส่วนนี้คุณควรมีคิวที่สั้นเพื่อให้คุณสามารถให้เวลาแก่ความสนใจของคุณได้เต็มที

นั่นคือ การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน!

แต่เดี๋ยวก่อน — การทำหลายอย่างพร้อมกัน เป็นศัตรูของ Productivity ไม่ใช่เหรอ

มีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมกันทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลลดลง แต่มีการทำหลายอย่างพร้อมกัน มีสองประเภท และการรู้ถึงความแตกต่างจะช่วยให้เราใช้เวลาได้มากขึ้นในแต่ละวัน

การทำงานหลายอย่างพร้อมกันในช่องทางเดียว(Single-channel multitasking) เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำได้ไม่ดีจริงๆ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อเรามีแหล่งข้อมูลหลายแหล่งพยายามเข้าสู่สมองของเราในเวลาเดียวกันบนช่องทางประสาทสัมผัสเดียวกัน

ต่างจากกิ้งก่าที่สามารถมองเห็นได้สองทิศทางพร้อมกัน มนุษย์จำเป็นต้องโฟกัสไปที่การป้อนข้อมูลด้วยภาพทีละภาพ คุณไม่สามารถอ่านบทความข่าวสองบทความหรือฟังพอดแคสต์สองรายการพร้อมกันได้

Photo by Keith Markilie on Unsplash

คุณสามารถใช้การทำงานพร้อมกันแบบหลายช่องรับรู้(multi-channel multitasking) โดยที่เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับช่องข้อมูลหลายช่องรับรู้พร้อมกัน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถละสายตาจากถนนในขณะขับรถ (ใช้สายตา) และฟังวิทยุพร้อมกัน (ใช้หู) ได้โดยไม่มีปัญหามากนัก

คุณจะใช้การทำงานพร้อมกันแบบหลายช่องรับรู้ เพื่อจัดการกับข้อมูลที่มากเกินไปได้อย่างไร?  ตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่ฉันไปยิม ผู้เขียน (Nir Eyal)ใช้แอพชื่อ Pocket เพื่ออ่านออกเสียงบทความให้ฟังขณะกำลังออกกำลังกาย จากการฟังบทความระหว่างออกกำลังกาย เขาจะได้เพลิดเพลินกับเนื้อหาที่บันทึกไว้ในขณะที่กำลังออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

แต่อย่างไรก็ตามใน ขั้นแรกให้เปลี่ยนสิ่งที่เราให้คุณค่าเป็นเวลา กรองแหล่งข้อมูลฟุ่มเฟือยที่ทำให้เราไม่มีเวลา และค้นหาวิธีใช้ประโยชน์จากเวลาที่เรามีให้มากขึ้น โดยการทำหลายอย่างพร้อมกันแบบหลายช่องรับรู้

เราสามารถเสพข้อมูลได้โดยไม่ปล่อยให้ มันเสพเรา

ที่มา : https://forge.medium.com/how-to-survive-in-a-world-of-information-overload-cbc01bb35513

Tags:

informationoverloadselftoo much

Share Article

Follow Me Written By

sopons

Writer / Columnist (Salmon Books, 101.world, The Matter, Beartai, The People, a day Bulletin, CapitalRead, GQ, Billion Brands)

Other Articles

Previous

​​11 เคล็ดลับเพื่อหยุดคิดมาก

Next

Mike Cannon-Brookes : เราจะใช้ Imposter Syndome เป็นประโยชน์ได้อย่างไร

Next
November 13, 2021

Mike Cannon-Brookes : เราจะใช้ Imposter Syndome เป็นประโยชน์ได้อย่างไร

Previews
November 12, 2021

​​11 เคล็ดลับเพื่อหยุดคิดมาก

Related Posts

วิธีสังเกต – และลด – ความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ

by sopons
November 15, 2021

สร้างตัวเองให้ Active ทั้งกายและใจ

by sopons
August 18, 2021

บุคลิกภาพที่แยกคนที่มีพรสวรรค์ให้แตกต่างจากคนทั่วไป

by sopons
December 18, 2021

10 นิสัยเล็กๆ ที่จะทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นใน 10 วันข้างหน้า

by sopons
October 28, 2021

Subscribe to our newsletter and stay updated.

SOPON’S BLOG

© 2021, All Rights Reserved.

Quick Links

  • Contact
  • About
  • Billion Brands
  • Blockdit

Category

  • Self-Improvement
  • Technology
  • Business
  • Thoughts
  • Travel

Follow Us

Facebook Twitter Youtube Instagram
  • Home
  • Topics
    • Featured
    • Self-Improvement
    • Business
    • Technology
    • Inspiration
    • Books
    • Life Style
    • Startups
    • Thoughts
    • Travel
  • About
  • Contact